ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ระบบ SAN




ยุคการจัดการความรอบรู้ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว อิเล็กทรอนิกส์ทำให้ระบบการเรียนรู้ต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปมาก เรามีระบบการเรียนรู้แบบ
ใหม่ที่ชื่อ eLearning ใช้สื่อข้อมูลเป็นแหล่งการเรียนรู้ใหญ่ มีระบบ eLibrary เก็บข้อมูลหนังสือที่เป็นแบบ eBook รวมทั้งสิ่งพิมพ์ประเภท eMagazine eJournal และ eProceeding ระบบ e ยังทำให้เกิดการเรียนรู้แบบ eEducation on Demand หรือ eEOD
หากแหล่งความรู้มีการจัดเก็บในรูปแบบสื่อดิจิตอล ซึ่งก็ต้องใช้ที่เก็บจำนวนมาก การใช้ที่เก็บในรูปสื่อมัลติมีเดีย ทำให้ขนาดของที่เก็บมีขนาดความจุเพิ่มสูงขึ้น ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลจะก้าวหน้าไปมากแล้วก็ตาม การดำเนินการพัฒนาขนาดและเทคโนโลยีก็ต้องดำเนินต่อไป เพราะหากพิจารณาถึงขุมความรู้จำนวนมหาศาลที่จะเก็บ (ลองนึกถึงขนาดของ eLibrary หรือดิจิตอลไลบารีดู) การจัดเก็บจึงต้องมีการพัฒนา
ในอดีตที่ผ่านมา เราใช้แนวคิดที่ว่าคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องประกอบด้วย ซีพียู หน่วยความจำหลัก และหน่วยความจำรองที่เก็บข้อมูลจำนวนมากได้ เช่น ฮาร์ดดิสค์ ซีดีรอม หรือดีวีดี นั้นหมายความว่า ระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งระบบมีที่เก็บข้อมูลหนึ่งที่ และให้คอมพิวเตอร์เหล่านั้นเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย ดังรูป


เมื่อถึงคราวใช้งานบนเครือข่าย การคำนวณบนเครือข่ายย่อมต้องอาศัยการรับส่งข้อมูลระหว่างกัน บางแห่งมีการตั้งเป็นฟาร์มของเซิร์ฟเวอร์เรียกว่า เซิร์ฟเวอร์ฟาร์ม เซิร์ฟเวอร์เหล่านี้ดูแลฮาร์ดดิสค์หรือที่เก็บของตนเอง ดังนั้นเมื่อทำงานร่วมกันบนเครือข่ายก็จะมีการส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันและโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน ใช้เวลานานมาก การจัดการข้อมูลที่มีขนาดใหญ่และส่งผ่านกัน ย่อมเกิดปัญหาในเรื่องการโอนย้ายผ่านเครือข่าย โดยเฉพาะช่องการส่งข้อมูลอาจมีจำกัด เช่น ระบบ SCSI ที่มีแถบจำกัด
เซิร์ฟเวอร์ฟาร์ม แนวคิดในเรื่องการจัดการข้อมูลจำนวนมาก จึงต้องปรับเปลี่ยนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบโดยรวม ลองนึกดูว่า ถ้ามีข้อมูลขนาดใหญ่ชุดหนึ่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง ต้องใช้ร่วมกัน การที่จะให้เซิร์ฟเวอร์หนึ่งส่งข้อมูลไปให้เครื่องอื่นย่อมติดขัด ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานต่ำลง แต่หากให้ทุกซีพียู หรือเครื่องหลาย ๆ เครื่องเรียกใช้ข้อมูล ซึ่งเสมือนข้อมูลเก็บอยู่ในที่เก็บที่แบ่งการใช้งานได้ทันที ทำให้เสมือนการติดต่อผ่านระบบที่เรียกว่า SAN Storage Area Network



SAN เป็นระบบเครือข่ายของที่เก็บข้อมูล โดยนำอุปกรณ์ที่จัดเก็บข้อมูลมาติดตั้งรวมกันเป็นเครือข่าย มีระบบจัดการข้อมูลบนเครือข่ายที่ทำให้รับส่งข้อมูลได้รวดเร็ว ทำให้ข้อมูลที่เก็บเสมือนเป็นส่วนกลางที่แบ่งให้กับซีพียูหลายเครื่องได้ การจัดเก็บที่เก็บแบบนี้จึงต้องสร้างสถาปัตยกรรมใหม่ เพื่อให้รองรับระบบดังกล่าว การทำงานนี้จึงคล้ายกับการสร้างเครือข่ายของที่เก็บข้อมูลแยกต่างหาก เป็นการสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพได้ และสามารถใช้งานได้ดีกว่าแบบเดิม






ด้วยเหตุผลที่แนวโน้มของการเก็บข้อมูลข่าวสารความรู้ในองค์กรมีมาก การดูแลฐานความรู้และข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่ จำเป็นต้องมีการสร้างระบบเพื่อรองรับองค์กรในอนาคต SAN จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของการบริหารและจัดเก็บข้อมูลบนเครือข่าย

วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

กรณีศึกษา : การใช้ RFID ในห่วงโซ่อุปทานของยา

กรณีศึกษาที่ 2 : การใช้ RFID ในห่วงโซ่อุปทานของยา

ในอุตสาหกรรมยาของโลกก็มีปัญหาต่างๆ ไม่ต่างจากอุตสาหกรรมอื่นๆ จากสถิติพบว่าในโซ่อุปทานของเวชภัณฑ์ระหว่างประเทศนั้นอาจมียาปลอมมากถึง 7% ในแต่ละปีตลาดยาต้องมีค่าใช้ จ่ายสูงถึงสองพันล้านดอลล่าร์สำหรับยาที่ลันสต็อกและยาที่เก็บไว้จนหมดอายุ อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายในการเรียกยาคืน ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตเวชภัณฑ์ ผู้บริโภค ผู้ขนส่ง ตลอดจนผู้ค้าปลีก ดังนั้นจึงทำให้อุตสาหกรรมยาคิดที่จะนำเทคโนโลยี RFID มาช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มความแม่นยำในการตรวจสอบข้อมูลและประวัติของยาที่ผลิตและจำหน่าย เพื่อเป็นการช่วยลดต้นทุนและเพิ่มคุณภาพและความปลอดภัยของยา เหตุผลที่อุตสาหกรรมยานำ RFID มาใช้พอสรุปได้ดังนี้

• ทำให้เห็นของในสต็อกได้ทั้งหมด รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
RFID สามารถตรวจจับยาได้ทุกภาชนะบรรจุไม่ว่าจะอยู่ตรงไหนของห่วงโซ่อุปทาน ทำให้ง่ายและรวดเร็วในการจัดส่ง ลดงานที่ต้องใช้มือทำ เพื่อความแม่นยำในการตรวจสอบการขนส่งและจัดจ่าย รวมทั้งเพิ่มโอกาสที่ร้านจำหน่ายยาจะมีสินค้าอย่างเพียงพอ

• สามารถควบคุมการสูญหายและปกป้องชื่อเสียงของยี่ห้อ
ความสามารถในการตรวจสอบที่มาที่ไปและจำนวนสินค้าได้ทุกจุดในโซ่อุปทานมีประโยชน์ในการลดการสูญหายของสต็อก RFID สามารถตรวจสอบได้ว่าสินค้าถูกส่งออกมาจากโรงงานใด ผู้ผลิตคือใครและราคาเดิมเท่าไร และสามารถปกป้องกันการนำสินค้าออกจำหน่ายในช่องทางจำหน่ายที่ไม่ได้รับอนุญาต

• ความปลอดภัยในการใช้ผลิตภัณฑ์ยา การเรียกยาคืน และข้อกำหนดต่างๆ
RFID สามารถใช้ตรวจสอบยาปลอม รวมทั้งล็อตของยาและวันหมดอายุของแต่ละล็อต ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการบริหารเรื่องการหมดอายุของยา อีกทั้งสามารถเก็บข้อมูลสายการผลิตของยาแต่ละล็อตของยาตามกฎหมายอีกด้วย การมีข้อมูลประวัติการผลิต ทำให้ RFID ช่วยลดระยะเวลาในการค้นหาสินค้าที่ต้องเรียกคืนได้เป็นอย่างมาก
คำถาม
1. ท่านคิดว่า RFID มีข้อได้เปรียบกว่าบาร์โค้ดอย่างไรบ้าง
ตอบ RFID สามารถตรวจสอบได้ว่าสินค้าอยู่ตรงไหน ทำให้มีประโยชน์ในการลดการสูญหายในสต็อก ป้องกันการขโมย ตรวจสอบได้ว่ามาจากโรงงานใด ใครคือผู้ผลิต และที่สำคัญยังสามารถใช้ตรวจสอบยาปลอม รวมทั้งล็อตของยาและวันหมดอายุของยาแต่ละล็อต
2. จงยกตัวอย่างการนำเทคโนโลยี RFID ไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจต่างๆ มาอย่างน้อย 3 ตัวอย่าง
ตอบ 1.บัตรทางด่วน
2. บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน
3. ระบบห้องสมุดดิจิทัล (e-Library) ในการยืมคืนอัตโนมัติ
3. ท่านคิดว่าข้อจำกัดของการนำ RFID ไปใช้ในงานธุรกิจมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ช่วยอำนวยความสะดวก รวดเร็ว เกิดประโยชน์ในหลายๆ ด้าน ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

กรณีศึกษา : การใช้เครือข่ายไร้สายของบริษัทเอิร์ตซ์

กรณีศึกษาที่ 1 : การใช้เครือข่ายไร้สายของบริษัทเฮิร์ตซ์ (Hertz)

อุตสาหกรรมการให้เช่ารถยนต์ในปัจจุบันมีการแข่งขันกันมาก และเฮิร์ตซ์ก็เป็นบริษัทที่ให้บริการการเช่ารถยนต์รายใหญ่ที่สุดของธุรกิจการเช่ารถ โดยให้บริการเช่ารถในหลายร้อยแห่งทั่วโลก และมีคู่แข่งที่สำคัญหลายสิบหลาย การแข่งขันจะเน้นที่การหาลูกค้าและการรักษาฐานลูกค้าเอาไว้
บริษัทเฮิร์ตซ์ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกติที่บริษัทจะมองหาและนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้สนับสนุนในการแข่งขันทางธุรกิจ และเฮิร์ตซ์นับได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกในการนำคอมพิวเตอร์พกพามาประยุกต์ช่วยงานด้านต่างๆ ดังนี้

• การให้บริการเช่ารถยนต์ด้วยความรวดเร็ว
เมื่อมีการจองรถยนต์ล่วงหน้าไว้แล้ว และผู้เช่าเดินทางมาถึงสนามบิน พนักงานต้อนรับ ของบริษัท จะคอยดูแลด้วยการส่งข้อมูลของผู้เช่าไปยังเคาน์เตอร์ที่ให้บริการเช่ารถยนต์โดยผ่านเครือข่ายไร้สาย พนักงานจะแจ้งสถานที่รับรถยนต์ ผู้เช่าก็สามารถนำรถยนต์ไปใช้งานได้ ขั้นตอนในระบบนี้เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าไร้สายซึ่งสามารถตรวจสอบบัตรเครดิต ประวัติการเช่ารถ การสะสมคะแนนกับสายการบิน และอื่นๆ

• การคืนรถยนต์อัตโนมัติ
บริษัทเฮิร์ตซ์เป็นผู้บุกเบิกวิธีการนี้ในปี ค.ศ. 1987 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาที่สามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลของบริษัทด้วยเครือข่ายไร้สายอำนวยความสะดวกในกระบวนการคืนรถยนต์ เมื่อผู้เช่านำรถยนต์ไปจอดที่จุดคืนรถยนต์ พนักงานจะใช้คอมพิวเตอร์พกพาคำนวณค่าใช้จ่ายและพิมพ์ใบเสร็จรับเงิน ผู้เช่าสามารถคืนรถยนต์ภายในเวลาอันรวดเร็วโดยที่ไม่ต้องไปที่เคาน์เตอร์ให้บริการเช่ารถยนต์แต่อย่างใด

• บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในรถยนต์
เริ่มให้บริการตั้งแต่ ค.ศ. 1988 โดยบริษัทเฮิร์ตซ์เริ่มให้บริการเช่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ติดตั้งในรถยนต์ แน่นอนว่าในปัจจุบันถือว่าบริการดังกล่าวไม่มีอะไรแปลกใหม่ แต่ในปี ค.ศ. 1988นับเป็นวัตกรรมใหม่ที่มีการนำมาใช้งาน

• การตรวจสอบเส้นทางเดิน
รถยนต์บางคันจะมีระบบการระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียมที่เรียกว่า GPS ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้คำแนะนำในการตรวจสอบสถานที่เดินทาง แผนที่จะแสดงผลผ่านทางจอภาพประกอบเสียงโดยจะแสดงตำแหน่งที่ผู้ใช้งานอยู่ ณ ขณะนั้น รวมทั้งเส้นทางที่จะเดินทางไป นอกจากนี้ยังแสดงสารสนเทศเกี่ยวกับโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ร้านอาหาร และสถานที่ท่องเที่ยว

• บริการเสริมสำหรับลูกค้า
ลูกค้าของเฮิร์ตซ์สามารถดาวน์โหลดข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน แผนที่แหล่งช้อปปิ้ง ตลอดจนแสดงแผนที่ของร้านค้า โรงแรม และแหล่งบันเทิงต่างๆ ผ่านทางเครื่องพีดีเอและอุปกรณ์ไร้สายอื่นๆ และเป็นที่แน่นอนว่าลูกค้าสามารถที่จะตรวจสอบเส้นทางเดินทางไปยังแหล่งนั้นๆ ได้

• การตรวจสอบตำแหน่งของรถเช่า
เฮิร์ตซ์กำลังอยู่ระหว่างการทดสอบระบบการตรวจสอบตำแหน่งของรถยนต์เช่า ระบบนี้ช่วยให้บริษัทตรวจสอบได้ว่ารถยนต์ที่ให้เช่านั้น ขณะนี้อยู่บริเวณใด ขับด้วยความเร็วเท่าใด ถึงแม้ว่าบริษัทจะแจ้งว่าสารสนเทศที่จัดเก็บนั้นนำมาใช้เพื่อให้ส่วนลดกับลูกค้า ในขณะที่บางคนมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องความเป็นส่วนตัวของลูกค้า ในขณะเดียวกันก็มีลูกค้าที่เห็นด้วยเนื่องจากรู้สึกว่ามีความปลอดภัยหากบริษัทจะสอดส่องความเคลื่อนไหวในการเดินทางตอลดเวลา

คำถาม
1. จาการประยุกต์ใช้เครือข่ายไร้สายของบริษัทเฮิร์ตซ์ที่ได้กล่าวข้างต้น แอปพลิเคชันที่ประยุกต์เพื่อใช้งานธุรกิจ ภายในองค์การมีอะไรบ้าง และแอปพลิเคชันใดบ้างที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
ตอบ แอปพลิเคชันที่ประยุกต์เพื่อใช้งานธุรกิจภายในองค์การ ได้แก่ ไว-ไฟ (Wi-Fi) บลูทูธ และ GPs ส่วน แอปพลิเคชันที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ได้แก่ GPs และบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในรถยนต์
2. ประโยชน์อะไรบ้างที่เฮิร์ตซ์ได้รรับจากการตรวจสอบตำแหน่งของรถเช่า และในฐานะที่ท่านเป็นผู้เช่ารถ ท่านมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการดำเนินการในลักษณะนี้
ตอบ ประโยชน์ที่เฮิร์ตซ์ได้รับจากการตรวจสอบตำแหน่งของรถเช่า คือ เฮิร์ตซ์สามารถรู้ได้ว่าขณะนี้รถที่ให้เช่าอยู่ตรงไหน ในสถานะใด ถ้าหากถูกขโมยก็สามารถที่จะตามคืนได้และหากเกิดอุบัติเหตุในที่เปลี่ยวก็สามารถช่วยเหลือได้ และในฐานะที่เป็นผู้เช่ารถ ก็รู้สึกทำให้สะดวกสบาย และยังมั่นใจในความปลอดภัยของบริษัทที่มีให้กับผู้เช่าอีกด้วย

วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานร้านไอศครีม

1.) ประโยชน์ที่ร้านไฮศครีม lberry นำไอทีเข้ามาช่วยการบริหารงาน นอกจากการแก้ปัญหาข้างต้นแล้ว ท่านคิดว่าทางร้านยังได้รับประโยชน์ใดบ้างด้านการสั่งซื้อวัตถุดิบที่ขาดแคลน และ การบริการการส่งไอศครีม Iberry1.1ด้านการสั่งซ้อวัตถุดิบที่ขาดแคลน เนื่องจาก ร้านมีสาขา เยอะ แล้วในการจำหน่วยไอศครีม อาจจะมีบางช่วงที่ลูกค้าหนาแน่น จึ่งทำให้วัตถุดิบภายในร้านหมดลง ในการนี้ที่ร้าน ใช้ระบบ It จึงมีความจำเป็น ในด้านการสั่งซื้อของโดยตรงจาก สำนักงานใหญ่ หรือสาขาที่มีความรับผิดชอบในเรื่องการจัดส่งวัตถุดิบเข้าร้านไอศครีม Iberry1.2การบริการด้านการส่งไอศครีม Iberryทางร้านอาจจะใช้การสั่งซื้อ ผ่านระบบเครือข่าย Internet หรือ ระบบ Network แล้วในการส่งก็ต้องใช้ความชำนาญทางร้านไอศครีม ก็อาจจะ ใช้ ระบบ GPRS เข้ามาช่วยในระบบการส่งไอศครีม ให้กับผู้ที่สั่งซื้อ เป็นต้น2.) ท่านคิดว่าในอนาคตร้านไอศครีม lberry สามารถนำไอทีเข้ามาช่วยงานด้านใดอีกได้บ้างร้านไอศครีม Iberry สามาถนำไอทีเข้ามาช่วยงานในด้าน การขาย และการจัดส่ง2.1 ในด้านการขาย ทางร้านอาจจะนำระบบ อินเทอร์เน็ต ในการทำเวปไซด์ ของกิจการร้านเพื่อทำให้ ผู้บริโภคได้รู้จัก ร้านไอศครีม Iberry มากยิ่งขึ้น2.2 การจัดส่ง เนื่องด้วยเป็นร้านไอศครีมการจัดส่งในแต่ละครั้ง จึงควรต้องมีความรวดเร็วในการจัดส่งไอศรีม ทางร้านจึงอาจจะนำระบบ GPRS เข้ามาช่วยระบบตำแหน่งที่จัดส่งอย่างแม่นยำ และจะช่วยลดเวลาในการหา ตำแหน่งที่จัดส่ง อีกด้วย3.) จากแนวคิดการนำไอทีมาใช้แก้ปัญหาของผู้บริหาร้านไอครีม lberry นั้น ท่านคิดว่าสามารถนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจใดได้บ้าง จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบแนวคิดนี้สามารถประยุกต์ใช้กับธุรกิจ ร้านขายไม้ดอกและไม้ประดับ3.1 ใช้ระบบเซนเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิอากาศ และควบคุมระบบการปล่อยน้ำลดต้นไม้3.2 นำเอาระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ด้วยระบบ Network Camera เข้ามาใช้ภายในร้าน ทำให้สามารถบันทึกภาพและเหตุการณ์ภายในร้านได้ตลอดเวลา และทราบถึง สภาพของต้นไม้ ที่เราเลี้ยงไว้ขายอีกด้วย3.3 ใช้ระบบ Internet เข้ามามีบทบาทในการโปรโมทร้าน เพื่อทำให้บุคคล หรือผู้ที่สนใจ ได้รู้จัก ร้านขายไม้ดอกไม้ประดับ ดีมากยิ่งขึ้น และเขียน Forum เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความสนใจ ในพันธ์ ไม้ ต่างๆ ในแวดวงธุรกิจเดียวกัน3.4 ใช้ระบบ เครื่องข่าย Network หรือ Internet ในการสั่งซื้อหรือจัดจำหน่าย และใช้ระบบ GPRS

EPR