ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ระบบปัญญาประดิษฐ์

1 ตัวอย่างระบบงานที่เกี่ยวข้องกับระบบปัญญาประดิษฐ์
1. สาขาวิชาคริตศาสตร์จะเกี่ยวข้องกับเรื่องการพิสูจน์ทฤษฏีต่างๆในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนด้านเกมส์ต่างๆเช่นการเล่นOXหมากรุกฝรั่ง
2. สาขาจิตรวิทยาในเรื่องการฟังและการวิเคราะห์ปัญหาทางจิตซึ่งการพัฒนาสิ่งดังกล่าวเกิดขึ้นโดนผ่านผู้เชี่ยวชาญโปรแกรมหมากรุกฝรั่งในช่วงแรกๆเป็นโปรแกรมที่ได้มาจากการใช้กำลังของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นการทำงานโดยการคำนวณผลกระทบของการเดินแต่ละครั้งเพื่อจะได้รู้ว่าวิธีการเดินแบบไหนจึงจะดีที่สุดซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่ป็นวิธีการเล่นของมนุษย์เพราะวิธีการเดินแต่ละก้าวของมนุษย์ล้วนมาจากประสบการณ์และกฏเกณฑ์การปฏิบัติฉนั้นถ้าโปรแกรมหมากรุกอาศัยการทำงานแบบกฏเกณฑ์ด้านการปฏิบัติก็หมายถึงเทคนิคด้านการประดิษฐ์
2 สมมุติว่าท่านเป็นผู้บริหารโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง ท่านจะนำข้อมูลในเรื่องใดบ้างมาประกอบการตัดสินใจ การบริหารงานของท่าน จงยกตัวอย่าง
1 ด้านการเงิน
จัดหาแหล่งเงินทุนต่าง ๆ เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายในทุก ๆ ด้าน
2 ด้านการตลาด
ทำการวิเคราะห์แนวทางของตลาดว่าต้องการอะไร แบบไหน จัดหาวัสดุอุปกรณ์ สำหรับกระบวนการผลิต
3 ดูแลสวัสดิการพนักงาน
จัดหาสวัสดิการต่าง ๆ ที่เหมาะสม พิจารณาปรับเพิ่ม หรือปรับลด เงินเดือนพนักงาน ตามภาวะทางเศรษฐกิจ

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2552

คำถามท้ายบทที่ 5

1. ความหมาย และองค์ประกอบหลักของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ในความเป็นจริงแล้วรายงานชนิดต่างๆ ยังไม่สามารถตอบคำถามที่เกิดขึ้นในขบวนการตัดสินใจได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากรายงานเหล่านั้นยังไม่สามาถนำมาใช้ได้ทันต่อเหตุการณ์และยังไม่สามารถนำมาทดสอบเพื่อดูผลของการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้จัดการสามารถหาคำตอบของคำถามต่างๆ เพื่อทำการตัดสินใจด้วยการใช้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์หรือแผนภาพได้ดีขึ้น ความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจคือ ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยผู้ตัดสินใจที่ต้องเผชิญกับปัญหาที่มีโครงสร้างระดับต่างๆ โดยสามารถทดสอบผลการตัดสินใจในการแก้ปัญหาด้วยตัวแบบข้อมูลและทำการวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจช่วยในการตัดสินใจปัญหาได้หลากหลายรูปแบบ สามารถช่วยในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน เช่น ผู้ผลิตต้องการหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการสร้างโรงงานผลิตแห่งใหม่หรือโรงงานน้ำมันต้องการเลือกสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดในการขุดเจาะหาน้ำมัน ซึ่งจะเห็นว่าระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการทั่วไปไม่สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ แต่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสามารถช่วยแนะนำทางเลือกในการปฏิบัติและช่วยในการตัดสินใจเพื่อหาคำตอบของปัญหาเหล่านี้ได้ นอกจากนี้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจยังเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจการบริหารรูปแบบต่างๆ ดังนั้นจึง จำเป็นต้องสามารถรองรับรูปแบบการตัดสินใจของผู้ใช้ที่หลากหลายด้วย
2. ลักษณะและความสามารถของระบบสนับสนุนการตัดสินใจมีอะไรบ้าง
- สนับสนุนการตัดสินใจทั้งในสถานการณ์แบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง
- สนับสนุนการทำงานของผู้บริหารได้หลายระดับ
- สนับสนุนการตัดสินใจแบบเฉพาะบุคคลและแบบกลุ่ม
- สนับสนุนการตัดสินปัญหาที่เกี่ยวพันซึ่งกัน
- สนับสนุนทุกขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจ
- สนับสนุนการตัดสินใจหลายๆรูปแบบ
- สามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการจัดการเงื่อนไขต่างๆ มีความยืดหยุ่นสูง
- สามารถใช้งานได้ง่าย- เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ
- สามารถควบคุมทุกขั้นตอนในการตัดสินใจได้
- ผู้ใช้สามารถสร้างและปรับปรุงระบบ DSS ขนาดเล็กแบบง่ายๆได้ด้วยตนเอง
- มีการใช้แบบจำลองต่างๆ
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจขั้นสูงมีความแตกต่างจากระบบผู้เชี่ยวชาญอย่างไร- ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของมนุษย์ ผู้ใช้ระบบทำการตัดสินใจเอง และป้อนข้อมูลฐานระบบขอบเขตกว้างและซับซ้อน ไม่มีความสามารถในการให้เหตุผลและจำกัดความสามารถในการอธิบาย ส่วน
- ระบบผู้เชี่ยวชาญ มีวัตถุประสงค์ในการทดแทนคำแนะนำของในมนุษย์ มีระบบทำการตัดสินใจและระบบคำถามกับผู้ใช้ ขอบเขตแคบและเฉพาะเจาะจง มีความสามารถในการให้เหตุผลอย่างจำกัด และมีความสามารถในการอธิบาย
4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่มมีประโยชน์ และแตกต่างจากระบบสนับสนุนส่วนบุคคลอย่างไร- ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่ม เป็นการตัดสินปัญหาบางส่วนในองค์การต้องอาศัยการตัดสินใจในรูปของคณะกรรมการหรือคณะทำงานประโยชน์ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่ม
1. ช่วยเตรียมความพร้อมในการประชุม
2. อำนวยความสะดวกด้านการสื่อสารระหว่างสมาชิก
3. ส่งเสริมและสร้างบรรยากาศในการร่วมมือกัน
4. จัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสม
5. ช่วยจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
6. อำนวยความสะดวกในการจัดทำเอกสารประกอบการประชุม
7. ช่วยประหยัดเวลาและสามารถลดจำนวนครั้งของการประชุมได้
- ส่วนระบบสนับสนุนการตัดสินใจส่วนบุคคลได้รับการออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของแต่ละบุคคล ซึ่งผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนเงื่อนไขต่างๆได้ด้วยตนเอง
5.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจนำมาใช้ในธุรกิจต่างๆ ด้านล่างนี้ได้อย่างไร จงอธิบาย และยกตัวอย่างประกอบ
5.1 ธุรกิจโรงเรียน ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ

ในการจัดทำแผนกลยุทธ์ระดับสถานศึกษา พบว่ามีปัจจัยหลายด้าน ในการนำพา ให้การดำเนินกิจกรรมนี้ประสบความสำเร็จได้ ส่วนที่อยากจะตอกย้ำก็คือเรื่องข้อมูลที่ดี มีคุณภาพ สถิติที่ชัดเจน ผลการดำเนินงานที่เห็นเป็นเชิงประจักษ์ ถ้าเขียนแบบสั้น ๆ ก็คือ ข้อมูลสารสนเทศ ของการทำงานที่ผ่านมา ต้องแน่น มากพอ ที่จะตัดสินใจ ในการทำงานครั้งหน้า นี่เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น นะคะ ทุกอย่างก็ต้องประกอบกันค่ะ จึงจะทำให้แผนการจัดทำนี้สำเร็จได้
หลักสำคัญที่จะช่วยให้สมาชิกทีมวางแผนกลยุทธ์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นคือ
หลักการที่ 1 : ให้เวลาค่อนข้างมากในการสำรวจค่านิยมพื้นฐานของหน่วยงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งของกลุ่มผู้นำระดับอาวุโส และรวมทั้งของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญ ๆ ด้วย ก่อนที่จะเริ่มพัฒนาองค์ประกอบอื่น ๆ ของแผนกลยุทธ์
หลักการที่ 2 : ให้ผู้นำระดับอาวุโสของหน่วยงานมีส่วนเกี่ยวข้องกับทุกขั้นตอนของแผนกลยุทธ์ทั้งการพัฒนาและการนำไปใช้
หลักการที่ 3 : รวบรวมข้อมูลจากทุกส่วนของหน่วยงาน รวมทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญ ๆ ด้วยทุกกลุ่ม
หลักการที่ 4 : สร้างภาพวิสัยทัศน์สำหรับอนาคตโดยกล้ามองข้ามอุปสรรคในสถานการณ์ปัจจุบัน
หลักการที่ 5 : การสร้างทีมวางแผนกลยุทธ์ จำเป็นต้องมีผู้แทนจากทุกกลุ่มหรือทุกด้านที่สำคัญของหน่วยงานหรือของแต่ละส่วนงาน เลือกคนดีมีความเหมาะสม
หลักการที่ 6 : บุคลากรทุกระดับขององค์การรวมทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญ ๆ ควรได้อ่านและให้ข้อคิดเห็นก่อนที่จะมีการตัดสินใจเลือกดำเนินการต่อไป ร่างแผนกลยุทธ์
หลักการที่ 7 : ในการอภิปราย ต้องการความจริง แม้ว่าบางครั้งความจริงบางอย่างอาจจะทำให้บางคนไม่สบายใจก็ตาม เพื่อให้แผนมีฐานอยู่บนข้อมูลและสมมติฐานที่แท้จริง
หลักการที่ 8 : พัฒนาแผนกลยุทธ์ด้วยความตั้งใจ จะเกิดความสนุกสนานในการดำเนินการอย่างจริงจัง เนื่องจากแผนกลยุทธ์ขึ้นมาจากชีวิตจิตใจ และเจตนารมณ์ของผู้ร่วมทีมทุกคน
5.2 ธุรกิจโรงพยาบาล ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเมื่อหลายปีก่อน แม้จะมีหลายข้อเสีย แต่ก็มีประโยชน์ต่อการตลาดของโรงพยาบาลเอกชนในปัจจุบันไม่น้อย เพราะนอกจากจะทำให้คนไทยเลือกใช้บริการโรงพยาบาลที่เหมาะกับกำลังจ่ายของตัวเองมากขึ้นเป็นผลให้การแบ่งกลุ่มลูกค้าของโรงพยาบาลเอกชนชัดเจนขึ้นแล้ว โรงพยาบาลที่อยู่รอดจากวิกฤตเศรษฐกิจส่วนมากก็คือโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ที่มีรูปแบบการให้บริการที่เด่นชัด มีการรวมกลุ่มที่แข็งแกร่ง และมีกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน ทำให้ภาวะการแข่งขันของโรงพยาบาลในปัจจุบันแม้จะทวีความรุนแรงขึ้น แต่ก็มีจำนวนผู้เล่นน้อยลง การแข่งขันจึงเป็นไปในเชิงคุณภาพมากขึ้น

กลยุทธ์เพิ่มคุณค่าโรงพยาบาลไทย
1. บุกตลาดอินเตอร์
เพราะจำนวนผู้ป่วยคนไทยของโรงพยาบาลเอกชนน้อยลงจากวิกฤติเศรษฐกิจทำให้ผู้ประกอบการหลายแห่งหันมาสนใจตลาดต่างประเทศอย่างจริงจัง ประกอบกับมาตรฐานที่ค่อนข้างสูงของโรงพยาบาลไทยจำนวนมากในปัจจุบันที่พร้อมรักษาชาวต่างชาติ นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการกลายเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแห่งใหม่ในภูมิภาคเอเชียในอนาคต
§ จำนวนผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชนไทยรวม 400 ราย
§ พร้อมให้บริการชาวต่างชาติ 33 ราย
กลุ่มลูกค้าหลักได้แก่ ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เจ็บป่วย นักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทย และ ผู้ป่วยต่างชาติที่ตั้งใจเข้ามารักษาในประเทศไทย
§ ตลาดใหญ่คือ ญี่ปุ่น 1.3 แสนคน อเมริกา 5.9 หมื่นคน อังกฤษ 4.1 หมื่นคน
§ ภายในปี 2-3 ปีข้างหน้า รัฐบาลคาดว่าจำนวนผู้ป่วยชาวต่างชาติจะเพิ่มเป็น 2 เท่า คือ 1 ล้านคน มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ย 15% ซึ่งคิดเป็นมูลค่าบริการประมาณ 27,000 - 30,000 ล้านบาท
5.3 ธุรกิจผลิตรถยนต์ ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
เครื่องมือที่บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ พัฒนาขึ้นมาขจัดความสูญเปล่านี้ได้แก่ การผลิตแบบทันเวลาพอดี ( just - in - time - production) หรือ JIT กับการใช้เครื่องจักรแบบอัตโนมัติที่ควบคุมตนเองได้ (automation)ในสายการผลิตแบบปกติธรรมดาทั่ว ๆ ไปนั้น สถานีงานที่หนึ่งจะผลิตชิ้นส่วนป้อนสถานีงานที่สอง สถานีงานที่สองจะผลิตชิ้นส่วนป้อนสถานีงานที่สาม….ไปจนถึงสถานีงานรองสุดท้ายผลิตชิ้นส่วนป้อนสถานีงานสุดท้าย ทำให้ชิ้นส่วนจากสถานีงานหนึ่งถูกดันไปยังสถานีงานถัดไป หากสถานีงานถัดไปนั้นยังไม่จำเป็นต้องใช้ ชิ้นส่วนก็จะค้างและเสียเวลารอคอยให้ใช้อยู่อย่างนั้น เมื่อหมดเวลาทำงานในแต่ละวันจะมีสินค้าระหว่างผลิตค้างอยู่ในสายการผลิตเป็นจำนวนมาก แต่ในสายการผลิตแบบ JIT จะทำย้อนกลับ กล่าวคือสถานีงานที่หนึ่งจะไม่ป้อนชิ้นส่วนให้สถานีงานที่สอง หากสถานีงานที่สองไม่ขอให้ส่งชิ้นส่วนไปให้สถานีงานที่สาม ตราบเท่าที่สถานีงานที่สามไม่ขอให้ส่งชิ้นส่วนไปให้……สถานีงานรองสุดท้ายจะไม่ป้อนชิ้นส่วนให้สถานีงานสุดท้าย ตราบเท่าที่สถานีงานสุดท้ายไม่ขอให้ส่งชิ้นส่วนไปให้ โดยวิธีนี้แทนที่ชิ้นส่วนจะถูกดันจากสถานีงานหนึ่งไปยังสถานีงานถัดไปกลับกลายเป็นว่าชิ้นส่วนจะถูกสถานีงานถัดไปมาดึงเอาจากสถานีงานที่อยู่ก่อนหน้า โดยการใช้วิธีนี้ เมื่อต้องการให้รถยนต์รุ่นใดสำเร็จออกไปจากสายการผลิต สถานีงานสุดท้ายก็จะดึงเอาชิ้นส่วนสำหรับรถยนต์รุ่นนั้นมาจากสถานีรองสุดท้าย สถานีรองสุดท้ายจะดึงเอาชิ้นส่วนสำหรับรถยนต์รุ่นเดียวกันมาจากสถานีก่อนหน้า…...ไปจนถึงสถานีงานแรก การผลิตแบบนี้ทำให้สามารถผลิตรถยนต์ได้หลายรุ่นในสายการผลิตเดียวกัน จึงตอบสนองความต้องการหรือสร้างความพอใจให้แก่ความอยากได้ของลูกค้าได้ดีกว่า และยังสามารถขจัดความสูญเปล่าชนิดที่หนึ่งถึงหกได้อีกด้วยเครื่องมือที่สถานีงานต่าง ๆ ใช้ดึงเอาชิ้นส่วนที่ต้องการจากสถานีงานที่อยู่ก่อนหน้านี้เรียกว่า คัมบัง (kanban) ซึ่งโดยรูปศัพท์หมายถึงแผ่นป้ายหรือบัตร ปกติทำด้วยกระดาษแข็งระบุชิ้นส่วนที่ต้องการใช้เอาไว้อย่างถาวร แต่ถ้ามองในแง่ระบบ คัมบังก็คือระบบการสื่อสารอย่างหนึ่งนั่นเอง
การใช้คัมบังไปดึงเอาชิ้นส่วนที่ต้องการ ในจังหวะเวลาที่ต้องการ ทำให้ผลิตสินค้าออกมาได้ทันเวลาที่ต้องการพอดี ในสายการผลิตที่ใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ (automatic) แบบธรรมดานั้นหากมีการผลิตชิ้นส่วนผิดไปจากเกณฑ์กำหนดที่ตั้งไว้ เครื่องจักรนั้นจะผลิตออกมาโดยไม่หยุด เช่น ถ้าตั้งเกณฑ์กำหนดให้ผลิตน๊อตมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 นิ้ว อนุญาตให้คลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 0.025 นิ้ว เครื่องจักรนั้นก็จะผลิตออกมาเรื่อย ๆ ต่อมาจะเป็นด้วยสาเหตุใดก็ตาม เครื่องจักรนั้นเกิดผลิตน๊อตขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 0.532 นิ้ว (เกินเกณฑ์กำหนดไป 0.007 นิ้ว) ออกมาซึ่งนำไปประกอบเข้ากับชิ้นส่วนอื่นไม่ได้ เครื่องจักรอัตโนมัติแบบธรรมดานี้จะยังคงผลิตน๊อตที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้นั้นต่อไปจนกว่าพนักงานควบคุมเครื่องจะมาหยุดเดินเครื่องจักร นั่นหมายความว่าความสูญเปล่าชนิดที่เจ็ดได้เกิดขึ้นมากมายแล้ว แต่เครื่องจักรอัตโนมัติที่ควบคุมตนเองได้ (automation) จะหยุดเดินเครื่องด้วยตัวเองทันทีที่ปรากฏว่าผลิตชิ้นส่วนแตกต่างไปจากเกณฑ์กำหนดออกมา ระบบการผลิตของโตโยต้า ดังกล่าวมานี้ได้ขยายไปยังบริษัทในเครือและบริษัท ที่ผลิตชิ้นส่วนป้อนโรงงานประกอบรถยนต์ของโตโยต้า ทั้งหมดแล้วเริ่มแพร่หลายออกไปยังโรงงานทั่วประเทศญี่ปุ่นและขยายไปทั่วโลกโดยมีชื่อหลักว่าระบบการผลิตแบบญี่ปุ่น (Japanese production system) หรือ JIT production ดังกล่าวและมีชื่อรองอีกสองชื่อคือ stockless production กับ zero inventory production ปัจจุบันในวงการอุตสาหกรรมการผลิตยอมรับกันว่าระบบการผลิตแบบโตโยต้าล้ำหน้าไปไกลกว่าระบบการผลิตของ Taylor (บิดาแห่งการบริหารงานเชิงวิทยาศาสตร์) กับระบบการผลิตของ Henry Ford (บิดาแห่งการผลิตแบบมวล หรือ ) เสียอีก

ความสำคัญของการบริหารการผลิตในเชิงยุทธศาสตร์

ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจนั้น นอกจากจะต้องเอาชนะใจลูกค้าให้มาซื้อผลิตภัณฑ์ของบริษัทแล้ว ยังต้องเอาชนะคู่แข่งขันอีกด้วย แนวทางในการเอาชนะคู่แข่งขัน มีอยู่ด้วยกันหลายมิติ แต่ที่ฝ่ายการผลิตต้องรับผิดชอบโดยตรง มีดังนี้

1. ประสิทธิภาพของต้นทุน (cost efficiency) เป็นที่ทราบกันดีว่าองค์การทางธุรกิจใดมีความสามารถในการผลิตสิน้คาและ / หรือบริการออกมาโดยมีต้นทุนต่ำ ย่อมสามารถกำหนดราคาสินค้าให้เป็นที่พอใจของลูกค้าได้ดี โดยที่กำไรไม่ลดลง เพราะ กำไร = ราคา - ต้นทุน ยิ่งถ้าเป็นการผลิตจำหน่ายอยู่ในตลาดแข่งขันเสรีที่มีกลไกของตลาดทำหน้าที่กำหนดราคาด้วยแล้ว การลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำที่สุดยิ่งเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นอาวุธที่จะเอาชนะคู่แข่งขันได้โดยไม่ยาก ฝ่ายการผลิตเป็นหน่วยงานหลักที่ได้ชื่อว่าใช้ทรัพยากรและสินทรัพย์ทุนมากที่สุดในบริษัท จึงต้องรับภาระหนักที่สุดในด้านประสิทธิภาพของต้นทุน การเพิ่มประสิทธิภาพของต้นทุนอาจทำได้หลายวิธี เช่น การลดค่าโสหุ้ย การใช้อุปกรณ์การผลิตชนิดอเนกประสงค์ การใช้ประโยชน์จากระบบการผลิตอย่างเต็มกำลัง การควบคุมวัตถุดิบอย่างใกล้ชิด การเพิ่มผลิตภาพให้สูงสุด และการจ้างแรงงานในอัตราต่ำ เป็นต้น
2. คุณภาพ (quality) คุณภาพเป็นสิ่งที่ใคร ๆ ก็ต้องการแม้ว่าบางครั้งอาจต้องชำระ ราคาเพิ่มขึ้นบ้างเพื่อ “คุณภาพพิเศษ” ของผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคก็เต็มใจที่จะชำระในกรณีปกติทั่ว ๆ ไป ถ้าตัวแปรอื่น ๆ คงที่ คือเท่ากันในทุก ๆ บริษัทที่ประกอบการอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ผลิตภัณฑ์ของบริษัทใดเหนือกว่าในด้านคุณภาพ ผลิตภัณฑ์นั้นย่อมมีโอกาสขายได้มากกว่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น ทักษะของพนักงาน ตรงของอุปกรณ์การผลิต การจูงใจและสร้างความภูมิใจให้แก่พนักงาน การชี้แจงให้พนักงานทราบถึงมาตรฐานของการทำงาน เป็นต้น
3. ความเชื่อถือได้ (dependability) หมายถึง การกระจายผลิตภัณฑ์ออกครอบคลุมตลาดให้มากที่สุด ให้ทั่วถึงที่สุดเท่าที่จะทำได้ ฝ่ายการผลิตซึ่งรับผิดชอบในการผลิตสินค้า ต้องผลิตออกมาให้ได้ตรงตามกำหนดเวลาในตารางการผลิต และยังต้องรับผิดชอบในการขนส่งไปยังจุดหมายปลายทางให้ตรงตามกำหนดเวลาอีกด้วย อันจะเป็นการทำให้ตลาดสามารถหาซื้อได้สะดวกทุกสถานที่และทุกเวลาที่อยากซื้อความเชื่อถือได้อาจสร้างขึ้นมาได้หลายวิธี เช่น การกำหนดตารางการผลิตที่มีประสิทธิผล การป้องกันอาการขัดข้องของอุปกรณ์การผลิต การป้องกันการลา การขาด หรือการลาออก การป้องกันการนัดหยุดงาน การเพิ่มจำนวนสินค้าคงคลัง หรือการสร้างพันธกิจให้พนักงานปฏิบัติตามความประสงค์ของบริษัท เป็นต้น
4. ความยืดหยุ่น (flexibility) การใช้ระบบการผลิตที่มีระดับความเป็นอเนกประสงค์สูง สามารถปรับเปลี่ยนให้ผลิตสินค้าได้มากมายหลายรุ่นหลายแบบ สนองตอบต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ได้รวดเร็ว และสามารถปรับอัตราเร็วในการผลิตได้ง่าย ความยืดหยุ่นยิ่งมีมาก ก็ยิ่งทำให้บริษัทสามารถควบคุมมิติทางด้านความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ได้มาก นั่นคือโอกาสที่จะสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าจะมีมากขึ้นตามไปด้วย หากคู่แข่งขันมีความยืดหยุ่นน้อยกว่า บริษัทย่อมเป็นฝ่ายได้เปรียบเชิงการแข่งขันความยืดหยุ่นจะเกิดขึ้นมาได้ก็ต่อเมื่อผู้รับผิดชอบในการบริหารการผลิตรู้จักติดต่อผู้จำหน่ายวัตถุดิบที่เชื่อถือได้ ส่งวัตถุดิบได้รวดเร็ว รู้จักสำรองกำลังการผลิต ใช้พนักงานที่มีความชำนาญงานหลายด้านสามารถโยกย้ายสับเปลี่ยนงานได้ตลอดเวลา รู้จักควบคุมการไหลของงานอย่างมีประสิทธิผล จัดหาอุปกรณ์การผลิตที่ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง หาวิธีการที่จะปรับแต่งเครื่องจักรโดยใช้เวลาและตันทุนน้อยที่สุด และกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ทำหน้าที่ในการออกแบบผลิตภัณฑ์กับการผลิตให้ดี มีความใกล้ชิดหรือรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นต้นมิติทั้งสี่นี้มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อการวางตำแหน่งการผลิต (production positioning) ซึ่งหมายถึง การเลือกนะบบการผลิตว่าจะให้มีคุณลักษณะมุ่งเน้นไปในมิติใดจึงจะทำให้บริษัทเกิดความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันมากที่สุด Hayes และ Wheelwright (1984 : 31) กล่าวว่า การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ในการบริหารการผลิตมีอยู่ด้วยกัน 8 ประเด็นดังแสดงในตารางที่ 2.1 โดยสี่ประเด็นแรกเป็นการตัดสินใจที่จะผูกพันบริษัทไปในระยะยาว อันเป็นการตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์ ส่วนสี่ประเด็นหลังเป็นการตัดสินใจในระยะสั้นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานวันต่อวัน อันเป็นการตัดสินใจเชิงยุทธวิธี
5.4 ธุรกิจขายรถยนต์ ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
โปรแกรมตรวจสอบราคารถยนต์
5.5 ธุรกิจโรงแรม ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
โปรแกรมเช็คข้อมูลการทองเที่ยว
5.6 ธุรกิจผลิตน้ำแข็ง ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
โปรแกรมการสั่งการปิดเปิดระบบไฟฟ้า
5.7 ธุรกิจผลิตน้ำมัน ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
โปรแกรมการสั่งจ่ายน้ำมันจากหัวจ่าย
5.8 ธุรกิจผลิตเม็ดพลาสติก ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
โปรแกรมการสั่งซื้อวัตถุดิบ

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2552

โปรแกรมช่วยในการตัดสินใจ


โปรแกรม ทดลองเลือกสียางจัดฟัน
ข้อดีของโปรแกรมนี้ก็คือ ผู้ที่จัดฟันสามารถเลือกสีของยางที่รองเหล็กตัดฟันว่าจะใช้สีอะไรหรือใช้แบบผสมผสาน

วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2552

คำถามท้ายบทที่ 3 E-Commerce

คำถามท้ายบทที่ 3
1. Instant Messaging (IM) คืออะไร สามารถสนับสนุนกระบวนการดำเนินธุรกิจได้อย่างไรบ้างและช่วยลดค่าใช้จ่ายโทรศัพท์ได้อย่างไร
ตอบ IM คือ โปรแกรมที่ใช้ในการสื่อสารและส่งข้อความในระหว่างเพื่อนหรือกลุ่มคนที่อยูในอินเทอร์เน็ต โดยรูปแบบจะคล้ายกับ E-mail โดยรูปแบบการส่งข้อมูลจะประกอบไปด้วยตัวหนังสือในการส่งแต่ละครั้ง แต่จะต่างกับ E-mail ตรงที่ คุณไม่ต้องนั่งรอเป็นชั่วโมงหรือวันๆ เพื่อรอการตอบกลับจากเพื่อนของคุณ เพราะข้อความที่คุณส่งไป จะส่งตรงไปหาเพื่อนของคุณ “ทันที” เหมือนกับการพูดคุยปกติ
สามารถสนับสนุนกระบวนการดำเนินธุรกิจ ทางด้านการสั่งซื้อสินค้าโดยการสั่งสินค้าผ่านระบบ Instant Messaging (IM) จะช่วยลดค่าใช้จ่ายแทนการสั่งซื้อทางโทรศัพท์
2. E-Commerce แตกต่างจาก E-Bussiness อย่างไร
ตอบ E-Commerce เป็นส่วนหนึ่งของ E-Bussiness คือ E-Bussiness จะมีการดำเนินธุรกรรมทุกขั้นตอนผ่าน
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในส่วนหน้าร้าน (Front Office) และหลังร้าน (Back Office) ในขณะที่ E-Commerce จะทำการซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น

3. E-Commerce กับ M-Commerce ต่างกันหรือไม่ จงอธิบาย
- (E-Commerce) ซึ่งเป็นแค่กระบวนการในการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการต่างๆ ผ่านระบบเครือข่าย แต่ M-Commerce มาจาก Mobile-Commerce ก็คือ การทำธุรกรรรมผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีข้อได้เปรียบมากกว่า E-Commerce หลายอย่าง เช่น 1. Mobility ตรงนี้คงยอมรับกันได้ว่า มีมากกว่า E-Commerce เพราะเราสามารถนำโทรศัพท์มือถือไปยังที่ต่างๆ ได้สะดวกกว่าการต้องพกพา เครื่องคอมพิวเตอร์ แม้ว่าจะเป็น Notebook ที่นับวันจะมีขนาดเล็ก บาง น้ำหนักเบามากขึ้นแล้วก็ตาม
2. Reachability สามารถเข้าถึงได้ง่าย เรียกได้ว่า สมัยนี้ใครๆ ก็สามารถเป็นเจ้าของโทรศัพท์มือถือกันได้ไม่ยากนัก
3. Ubiquity ปัจจุบันเราใช้งานโทรศัพท์มือถือกันแพร่หลายมาก และใช้งานกันกว้างขวาง ไม่ได้ใช้เฉพาะในกลุ่มนักธุรกิจเหมือนในอดีต แต่ไปถึงแม่บ้าน นักศึกษา วัยรุ่น ฯลฯ
4. Convenience ด้วยขนาดที่พกพาได้ง่าย ทำให้เกิดความสะดวกในการนำไปใช้ และใช้งานได้ไม่ยาก เพียงกดปุ่มไม่กี่ปุ่ม ถ้าเทียบกับการใช้คอมพิวเตอร์ แล้วฟังก์ชันที่ทำงานบนมือถือจะสนองตอบการใช้งานที่ง่าย และใช้เวลาน้อยกว่า
4.จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างการทำธุรกิจแบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B), ธุรกิจกับลูกค้า (B2C), ธุรกิจกับภาครัฐ (B2G) และลูกค้ากับลูกค้า (C2C)
- ธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างที่มุ้งเน้นให้บริการกับลูกค้าที่เป็นองค์การธุรกิจด้วยกัน เช่น ผู้ผลิต-ผู้ผลิต ผู้ผลิต-ผู้ส่งออก ผู้ผลิต-ผู้นำเข้า และผู้ผลิต-ผู้ค้าส่ง

ธุรกิจกับลูกค้า (B2C) เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้ขายที่เป็นองค์การธุรกิจกับผู้ซื้อหรือลูกค้าแต่ละคนอาจเป็นการค้าปลีกแบบล็อตใหญ่หรือเหมาโหล หรือแบบขายปลีกที่มีมูลค่าการซื้อขายสินค้าจำนวนไม่สูง
ธุรกิจกับภาครัฐ (B2G) เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างเอกชนกับภาครัฐ ได้แก่การประมูลออนไลน์ (E-Auction) และการจัดซื้อจัดจ้าง (E-Procurement)
ลูกค้ากับลูกค้า (C2C) เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้บริโภคด้วยกัน ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนและซื้อ-ขายสินค้าอาจทำผ่าน Website
5. จงยกตัวอย่างปัจจัยที่ทำให้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประสบความสำเร็จและล้มเหลวมาอย่างละ 5 ข้อ
1. การส่งงานออกแบบให้แก่ลูกค้าโดยผ่าน CD-ROM
2. การสั่งซื้อหนังสือจากเว็บไซด์
3. การส่งข้อมูลการโอนเงินระหว่างธนาคาร (Electronic Fund Transfers : EFT)
4. การจองตั๋วชมภาพยนตร์ผ่านโทรศัพท์มือถือ
5. การส่งเอกสารผ่าน EDI (Electronic Data Interchange) ของกรมศุลกากร
6. Internet ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์กับลูกค้าอย่างไรบ้าง
- เป็นชุมชนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่มีทั้ง ผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์ เข้าออกแล้วค้นหาสินค้าและบริการตลอดเวลา จึงเป็นแหล่งที่เอื้ออำนวยต่อการประกอบธุรกิจ Internet จึงเป็นเหมือนจุดศูนย์การในการทำธุรกิจของโลกปัจจุบันมาก
7. Internet มีประโยชน์ต่อการให้บริการลูกค้าอย่างไรบ้าง
- มีหน้าที่ให้บริการต่าง ๆ กับลูกค้าตั้งแต่การค้นข้อมูลของ สินค้าและบริการ การสั่งซื้อ หรือแม้แต่การชำระเงินก็สามารถทำได้สะดวก สินค้าและบริการบ้างอย่างก็จะมีการให้บริการหลังการขายผ่านทาง Internet ด้วย
8. ในยุคความเจริญของ internet ความเร็วสูง การจำหน่าย softeware ในรูปแบบของ CD-Rom น่าจะลดน้อยลงและได้รับความนิยมน้อยกว่าการจำหน่ายโดยวิธีการ download ผ่านทาง internet แต่ในปัจจุบันกลับไม่เป็นเช่นนั้น การจำหน่าย software ในรูปของ CD-Rom ยังคงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ท่านคิดว่าเป็นเพราะเหตุผลใด
- เพราะการติดตั้ง software โดยผ่าน CD-ROM น่าจะช่วยลดปัญหาไวรัสเข้าสู่ระบบ Computer มากกว่าการ Download ผ่านทาง Internet
- เพราะแผ่น CD - ROM มีราคาถูก
- ระบบ Internet ในท้องที่ทุระกันดาร ยังไม่คลอบคลุมทั่วถึง
9.จงยกตัวอย่างของธุรกิจที่ทำการค้าแบบ E-Commerce มา 1 ธุรกิจ

- การจำหน่ายรถยนต์มือสองผ่านทาง Internet

วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ERP

การวางแผนทรัพยากรขององค์กร

การก้าวกระโดดของเทคโนโลยีสารสนเทศ มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ทำให้การบริหารงานขององค์กร และกระบวนการทางธุรกิจ รวมทั้งกฎกติกาการแข่งขันทางธุรกิจถูกเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ในหลายธุรกิจที่เคยได้เปรียบและคิดว่าองค์กรของตนมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน มีความมั่นคงในองค์กร และไม่มีวันสิ้นสลาย ความคิดนั้นต้องหมดไป กับกระแสโลกในยุคเศรษฐกิจไร้พรมแดน ( Global Economy ) ที่เกิดจากนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อรูปแบบการเปลี่ยนแปลง ในสังคมดิจิตอล องค์กรที่จะยืนหยัดในกระแสที่รุนแรงเช่นนี้ได้ จะต้องตื่นตัว เพราะโลกเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้
( Knowledge Base Economy ) ที่เน้นการพึ่งพาข้อมูล สารสนเทศ ความรู้และสติปัญญา ซึ่งเป็น
ระบบเศรษฐกิจที่มีการสร้างสรรค์ จัดหา ดัดแปลง ต่อยอดให้เกิดนวัตกรรม ในการขับเคลื่อนและ
สร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแห่งตน เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนั้นคำกล่าวจากหนังสือ
IT’S ALIVE ของ Christopher Meyer ที่ว่า ".... ท่านจะยอมปรับเปลี่ยนตัวเองหรือท่านจะยอมตาย
จากไปกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้น …" องค์กรต้องปรับเร่ง
ในด้านความเร็วและเร็วอย่างผู้รู้ (Economy of Speed & Economy of Knowledge) จากตัวอย่าง
ที่เห็นได้ชัดของประเทศจีน ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด บนหนทางของการพัฒนา สิ่งที่จีนใช้บริหารจึงเป็นเรื่องของ Economy of Speed ที่บริหารทุกเรื่องได้อย่างทันเวลา และทันตามความต้องการ และจากคำกล่าวของท่านผู้รู้ที่ว่า "…สู้ด้วยยุทธศาสตร์ รบด้วยปัญญา ชนะด้วยความรู้…"
หลายท่านอ่านมาถึงตรงนี้คงสงสัยว่าผู้เขียนจะเขียนเรื่องอะไร ก็ขอได้เข้าใจว่าเป็นการเกริ่นนำ
เพื่อต้องการให้ท่านผู้อ่านได้มองเห็นภาพกว้างของสังคมโลกดิจิตอล และย่อส่วนลงมาที่หน่วยงานหรือองค์กรที่ท่านอยู่ เราไม่ต้องการแข่งขันกับใคร แต่ในขณะเดียวกัน เราต้องมีที่ยืน ไม่ว่าจะเกิดภาวะวิกฤต หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงเพียงใดก็ตาม อย่าให้กระแสสังคมเหวี่ยงเราออกนอกวงโคจรเราจำต้องปรับฐานองค์กรให้เป็น องค์กรอัจฉริยะ (Intelligence Organization) ซึ่งเป็น
กระบวนการหนึ่งของการบริหารที่มุ่งเน้นให้องค์กรและบุคลากร มีกระบวนการทำงานอย่างเป็น
ระบบ ด้วยนวัตกรรมและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อการ
ปฏิบัติงานที่เต็มไปด้วยประสิทธิผล ด้วยการเชื่อมโยงระบบสารสนเทศระหว่างหน่วยงานภายในและแหล่งข้อมูลภายนอกที่เอื้อต่อองค์กรหรือพันธมิตร ทำให้ความสามารถในการสื่อสาร การควบคุมตลอดจนการประมวลผล เป็นไปอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีความพร้อมในการเผชิญต่อการ
เปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
การบูรณาการระบบสารสนเทศ

การบูรณาการระบบสารสนเทศ จะต้องมองภาพกระบวนการทำงานทั้งหมดของระบบ
(Business Process) ซึ่งประกอบด้วยการไหลของวัตถุดิบ (Material Flow) และการไหลของข้อมูล
(Information Flow) และพิจารณาว่าในแต่ละกระบวนการสามารถนำเทคโนโลยีมาสนับสนุน ใน
ระดับใด (IT Services Level) โดยระบบสารสนเทศในแต่ละส่วนงานของกระบวนการจะเชื่อมโยง
โปรแกรมประยุกต์ (Applications) ของแต่ละส่วนงานเข้าเป็นระดับองค์กร (Enterprise) และมีฐานข้อมูล ที่เรียกว่า Single Database นั่นคือเป้าหมายของการวางแผนทรัพยากรขององค์กร หรือ
ERP (Enterprise Resource Planning) เพื่อรวบรวมงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น งานวางแผน
(Planning) งานผลิต (Production) งานขาย (Sale) งานทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) และงาน
การเงินและบัญชี(Finance/Accounting) รวมทั้งการสร้างมาตรฐาน ในกระบวนการจัดการทางธุรกิจ
และมาตรฐานข้อมูลในองค์กร ซึ่งในแต่ละองค์กรจะประกอบไปด้วยหน่วยงานหลักที่มีลักษณะ
งานที่เหมือนกัน และจะแตกต่างกันบ้างสำหรับงานเฉพาะด้านเท่านั้น เราจำเป็นต้องมีระบบบริหาร
จัดการทรัพยากรในองค์กรที่ดี แต่ในสายงาน ERP ไม่มีระบบอะไรสมบูรณ์ตามความต้องการของ
องค์กรทั้งหมด เราจำเป็นต้องมีบุคลากรในการ Customize และสร้างมาตรฐานของระบบในการใช้
ฐานข้อมูลร่วมกัน
ในการปฏิบัติงานของแต่ละองค์กรเราสามารถแบ่งงานได้เป็น 2 ลักษณะด้วยกันก็คือ
ลักษณะที่หนึ่งจะเป็นระบบการบริหารงานภายในที่เราเรียกกันว่า Back end และลักษณะที่สองจะ
เป็นระบบให้บริการที่ติดต่อกับลูกค้าหรือกับภายนอกที่เรียกว่า Front end ซึ่งปัจจุบันได้นำ
เทคโนโลยีในหลายรูปแบบมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจมากที่สุด เพื่อให้
ลูกค้ายืนอยู่ข้างเรา ในวันนี้จะขอพูดถึง ระบบการวางแผนทรัพยากรขององค์กร ที่อยู่ในส่วนของ
Back end ERP เป็นระบบการบริหารภายใน หรือในส่วน Back end ที่จะต่อเชื่อมกับระบบบริการ
ภายนอกเป็น Software ที่ใช้ในการบริหารองค์กร โดยที่มี Common Database เก็บข้อมูลทุกอย่างไว้
ที่เดียวกัน เพื่อป้องกันความซ้ำซ้อนของข้อมูล มีการใช้ทรัพยากรข้อมูลร่วมกัน โดยแต่ละส่วน
สามารถดึงข้อมูลจากส่วนกลาง มาวิเคราะห์ในส่วนที่เกี่ยวข้อง และ สามารถที่จะ Integrate หรือการ
วางแผนทรัพยากรในองค์กร ซึ่งระบบจะต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อการวางแผนและบริหาร
ทรัพยากรขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดเวลา ลดขั้นตอน และประหยัดทรัพยากร

ERP เป็นระบบสารสนเทศที่องค์กรนำมาใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อการบริหาร การวางแผนการลงทุน และบริหารทรัพยากรขององค์กร ด้วยเป็นระบบที่สามารถควบคุมกระบวนการทำงานในทุก ๆ หน่วยงานขององค์กร ด้วยการบูรณาการ (Integrate) งานหลัก (Core Business Process) ในองค์การทั้งหมด ไม่ว่า จะเป็นการจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารบุคคล รวมทั้ง
ระบบที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน เข้าสู่ฐานข้อมูลกลางด้วยมาตรฐานความสามารถในการเชื่อมโยง และการทำงานในระบบ Real Time ส่งผลให้การดำเนินงานทั้งองค์กร สอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันรูปแสดง การบูรณาการระบบสารสนเทศในองค์การ












รูปแสดง การบูรณาการระบบสารสนเทศในองค์การ
ทำไมต้องมีระบบ ERP ในองค์กร
ในองค์กรที่แต่ละส่วนงานหรือแต่ละฝ่าย ต่างทำงานกันเป็นเอกเทศโดยที่ไม่มีการเชื่อมโยง
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน นอกจากจะทำให้เกิดต้นทุนที่สูงแล้ว ข้อมูลยังมีความซ้ำซ้อนและ
ไม่มีเอกภาพ โอกาสที่จะแข่งขันกับคู่แข่ง ซึ่งปัจจุบันไม่ใช่เพียงแต่คู่แข่งภายในประเทศเท่านั้น
ดังนั้นความเชื่อมโยงของระบบข้อมูลทุกภาคส่วนในองค์กร จะต้องเป็น Single Database และเป็น
แหล่งรวมสารสนเทศ ที่สามารถบริหารจัดการแบบเรียลไทม์ หรือทันที ทันใด จากจุดนี้ทำให้เรา
สามารถวิเคราะห์และรับรู้สภาพการณ์ ในการบริหารทรัพยากรขององค์กร ซึ่งหมายถึงความสามารถ ในการปรับเปลี่ยน ความสามารถในการตัดสินใจที่รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ด้วย
สารสนเทศจากระบบที่เกิดขึ้น เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดขององค์กร

สิ่งที่ต้องพิจารณาในการจัดหาซอฟต์แวร์
ต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบของซอฟต์แวร์ ว่าระบบที่ดำเนินการจัดหามีความครอบคลุม
กระบวนการทางธุรกิจทั้งหมดหรือไม่ ระบบเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ การเชื่อมโยงระบบย่อย
ครบถ้วนตามที่แต่ละหน่วยงานต้องการหรือไม่ ตรงตามนโยบายหรือไม่ นั่นคือเงื่อนไขของระบบ
และอีกส่วนที่จะต้องพิจารณาก็คือ ระบบปฏิบัติการ ระบบฐานข้อมูล ภาษาที่ใช้ในการพัฒนา ซึ่ง
จะต้องคำนึง เพราะเป็นตัวกำหนดสภาพแวดล้อมของการใช้งานในระบบ ERP และระบบที่เลือก
ควรเป็นระบบเปิด (Open System) เพราะเมื่อใช้ไประยะหนึ่งความต้องการใหม่ ย่อมเกิดขึ้น อีกทั้ง
จะต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคู่ค้าหรือพันธมิตร ระบบต้องสามารถเชื่อมต่อกับระบบภายนอก
ได้ (ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการเชื่อมโยงเครือข่ายการสื่อสาร) และหน่วยงานต้องมีบุคลากรที่
สามารถดูแล และพัฒนาระบบเพิ่มเติมได้ ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขโปรแกรม หรือการปรับเปลี่ยน
รายงาน ซึ่งจะต้องมี Source Code ดังนั้นในการจัดหาระบบดังกล่าว ต้องมีต้นฉบับของโปรแกรม
หรือ Source Code อยู่ในข้อตกลง เพื่อการปรับปรุงแก้ไขได้ในอนาคต อีกทั้งความสามารถในการ
กำหนด สิทธิการใช้งานและระบบความปลอดภัยได้เอง และสามารถใช้แบบ Multi Company Multi
Branch และประการสำคัญคือความพร้อมของบุคลากรและการลงทุน
ระบบ ERP
การที่ระบบ ERP ได้รับความนิยมเนื่องด้วยเป็น Software ที่ครอบคลุมทุกกระบวนการของ
องค์กร และเป็น Single Database ทำให้การวิเคราะห์ และวางแผนทรัพยากรในองค์กรมีความ
สะดวก ในวงการไอทีมี Software ที่อยู่ในกลุ่มนี้ไม่น้อย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ Software
Package กับ Customizing Software Package ข้อแตกต่างของซอฟต์แวร์สำเร็จรูปทั้งสองประเภทก็
คือ Software Package นั้น เราไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยนซอฟต์แวร์ได้ตามความต้องการ ถ้าต้อง
การจะปรับเปลี่ยนซอฟต์แวร์ให้เข้ากับธุรกิจหรือปรับรูปแบบรายงาน จำเป็นที่จะต้องแก้ไข
โปรแกรมจาก Source Code ของซอฟต์แวร์สำเร็จรูปตัวนั้น แต่ถ้าเป็น Customizing Software
Package ระบบของซอฟต์แวร์ จะมีส่วนที่เรียกว่า Customizing สำหรับการปรับเปลี่ยนการทำงาน
ของซอฟต์แวร์ให้เข้ากับรูปแบบในการดำเนินธุรกิจขององค์กรได้
ระบบ ERP ที่ใช้กันในองค์กรขึ้นอยู่กับความเหมาะสมที่แต่ละองค์กรจะพิจารณาเลือก ขอ
ยกตัวอย่างดังนี้คือ ระบบ SAP, Oracle, QAD หรือในไมโครซอฟต์ก็มี Microsoft Business
Solutions และยังมีโปรแกรมสำเร็จรูปที่พัฒนาโดยคนไทยรวมทั้งของต่างประเทศ ในที่นี้
จะขอแนะนำเพื่อเป็นแนวทางดังนี้
ระบบ System Application Products
SAP (System Application Products) เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทางธุรกิจประเภท ERP
(Enterprise Resource Planning) ของประเทศเยอรมันที่ใช้ควบคุมดูแลทุกสายงานของธุรกิจ ครอบ
คลุมอุตสาหกรรมมากกว่า 25 ประเภท และใช้มากกว่า 120 ประเทศใน 38,000 หน่วยงาน ตัวระบบ
ประกอบด้วย หลาย Module ที่ทำงานร่วมกัน ผลิตภัณฑ์ SAP มี 2 กลุ่ม คือ SAP R/2 ใช้สำหรับ
เมนเฟรม SAP R/3 ใช้กับระบบ client/server และ SAP R/3 Enterprise ซึ่งเป็น Web Application
Server และ mySAP ERP
SAP R/3 เป็น Application Software ชนิด Client / Server ที่ทำงานในลักษณะ 3 Tier
Architecture ซึ่งแบ่งลำดับชั้นของเซอร์วิสใน Application เป็น 3 ระดับคือ Presentation Server จะ
ทำหน้าที่ให้บริการในส่วนของรูปแบบหน้าจอ Graphical User Interface หรือ GUI โดยเป็นเครื่อง
คอมพิวเตอร์สำหรับให้บริการ ส่วน Application Server จะทำหน้าที่ให้บริการในส่วนของการ
ทำงานทางด้าน Application Logic และในส่วน Database Server จะทำหน้าที่ให้บริการในการดูแล
ข้อมูลในระบบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บข้อมูล การสำรองข้อมูล และการฟื้นคืนสภาพของ
ข้อมูล (Data Recovery) ซึ่งจะทำงานร่วมกับ RDBMS ไม่ว่าจะเป็น ORACLE, Informix, DB2,
Microsoft SQL Server หรือ SAP DB (MaxDB)












รูป แสดงโมเดลมาตรฐานของแอพพลิเคชัน แบบ 3 Tiers
โมดูลแอพพลิเคชันในระบบ SAP R/3 ประกอบด้วย
FI : Financial Accounting หรือโมดูลทางด้านบัญชีการเงิน
CO : Controlling หรือโมดูลทางด้านบัญชีจัดการหรือบัญชีบริหาร
AM : Fixed Assets Management หรือโมดูลทางด้านการจัดการสินทรัพย์ถาวร
SD : Sale & Distributions หรือโมดูลทางด้านขายและการกระจายสินค้า
MM : Material Management หรือโมดูลทางด้านการจัดการวัตถุดิบ












รูป แสดงโมดูลของ SAP R/3
PP : Production Planning หรือโมดูลทางด้านการวางแผนการผลิต
QM : Quality Management หรือโมดูลทางด้านการจัดการด้านคุณภาพ
PM : Plant Maintenance หรือโมดูลทางด้านการซ่อมบำรุงโรงงาน
HR : Human Resource หรือโมดูลทางด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล
TR : Treasury หรือโมดูลทางด้านการบริหารการเงิน
WF : Workflow หรือโมดูลทางด้าน Flow ของกระบวนการทำงาน
IS : Industry Solutions คือส่วนระบบงานธุรกิจเฉพาะที่ไม่ใช่โมดูลมาตรฐานของระบบ SAP
R/3 ซึ่งจะมีทั้งระบบ Aerospace, Automotive, Banking, Chemicals, Consumer Products,
Engineering and Construction, Healthcare, Higher Education and Research, High Tech,
Insurance, Media, Mill Products, Oil and Gas, Pharmaceuticals, Public Sector, Retail,
Service Provider, Telecommunications, Transportation และ Utilities
นอกจากนี้ยังมี SAP Phone ที่สนับสนุนการเชื่อมต่อกับระบบ Computer Telephony
Integration Server ที่มีการเชื่อมต่อกับระบบ Private Branch Exchange (PBX) โดยสามารถที่จะใช้
งานในส่วนของ Telephony Control Function ได้เช่น Initiating and Transferring Call, Processing
Incoming Call Information และรวมถึงเรื่อง Interactive Voice Response (IVR)
จากข้างต้น SAP มีลักษณะเป็นโมดูล แต่ละโมดูลสามารถทำงานได้โดยตัวเอง และสามารถ
เลือกใช้เฉพาะบางโมดูลที่จำเป็นต่อการใช้งานได้ โดยไม่ต้องซื้อมาทั้งหมด ในอนาคตถ้าต้องการ
ใช้งานเพิ่มก็สามารถเพิ่มได้ภายหลัง ในขณะเดียวกันแต่ละโมดูลจะทำงานสอดคล้อง เชื่อมโยง และ
ประสานงานกันได้อย่างแนบแน่น ทำให้สามารถลดความซ้ำซ้อนของงานได้อย่างสมบูรณ์ ท่านที่
สนใจศึกษาที่ www.sap.com
ระบบ QAD
QAD เป็นแอพพลิเคชั่นในด้านการวางแผนการใช้ทรัพยากร ระดับองค์กรซึ่งเป็นนวัตกรรมของซอฟต์แวร์อุตสาหกรรม ERP อีกระบบหนึ่งในตลาด สามารถใช้งานร่วมกับอินเทอร์เน็ต ช่วยให้การบริหารทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับการผลิตทั้งภายในและภายนอกองค์กร ช่วย
ให้ผู้ผลิตอุตสาหกรรมสามารถทำงานอย่างใกล้ชิดกับลูกค้า ผู้ขาย และบริษัทคู่ค้า QAD มีลูกค้า
มากกว่า 5,500 ราย ใน 90 ประเทศและมีการพัฒนาไปใช้ใน 27 ภาษาทั่วโลก และได้พัฒนาระบบ
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารและการจัดการองค์กรสำหรับ Multi-National Companies
ขึ้นภายใต้ชื่อ Global Enterprise Edition (GXE) เป็นโซลูชั่นที่พัฒนาบน SOA (Service Oriented
Architecture) มีความพร้อมและความสามารถในการรองรับความต้องการขององค์กร โดยมีโมดูล
ซึ่งประกอบไปด้วย QAD Manufacturing, QAD Financials, QAD Supply Chain, QAD Customer
Management, QAD Analytic, QAD Open Technology ซึ่งระบบ QAD GXE นั้น

















รูป แสดงโครงสร้างระบบ QAD
สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับความต้องการของอุตสาหกรรมแต่ละประเภทได้อย่างง่ายดาย และ
สามารถส่งเสริมระบบอุตสาหกรรมการผลิตให้มีประสิทธิภาพ โดยจุดเด่นของเทคโนโลยีได้แก่
QAD Enterprise Portal Solution และได้พัฒนาเทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identification)
เพื่อการควบคุมสินค้าในสต็อกไม่ให้เกินความจำเป็น และลด Cycle Time รวมถึงการผลิตที่ทันเวลา
หรือ Just in Time และระบบยังสามารถสร้างบทเรียน e-Learning ได้
รูป แสดง QAD Financials





รูป แสดง QAD Supply Chain





เป็น ERP อีกระบบหนึ่งในค่ายของไมโครซอฟต์ยักษ์ใหญ่วงการไอที ที่จำเป็นต้องลง
สนามแข่งขันจะปล่อยให้ SAP และ Oracle เติบโตในสายนี้อย่างสบายได้อย่างไร ไมโครซอฟท์ส่ง
ซอฟต์แวร์สายพันธุ์ Navision Axapta (Microsoft Dynamics AX) Axapta เริ่มทำตลาดในเมืองไทย
เมื่อปี 2000 และ หลังจาก Microsoft ซื้อกิจการทำให้ Axapta เป็นที่รู้จักมากขึ้น ในส่วนของ Axapta, Navision, Great Plains, Solomon, หรือ Microsoft CRM ซึ่งอยู่ภายใต้ชุด ผลิตภัณฑ์
Microsoft Dynamics ที่จริงแล้ว Dynamics AX 4.0 ก็คือ Axapta ตัวต่อไปของ Microsoft ที่
Microsoft ตั้งชื่อใหม่ในการทำการตลาดว่า Dynamics AX (ชื่อเดิม Microsoft Business Solutions-
Axapta) Microsoft Dynamics AX เป็นระบบการวางแผนทรัพยากรสำหรับองค์กร หรือ ERP ที่
รองรับการใช้งานหลายภาษาและหลายสกุลเงิน ได้รับการออกแบบมาสำหรับบริษัทขนาดกลาง
และใหญ่
















รูป แสดงสถาปัตยกรรม Microsoft Dynamics
Microsoft Dynamics AX ประกอบด้วย ระบบการบริหารการเงิน, การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า, การบริหารทรัพยากรบุคคล, การบริหารโครงการ, การจัดการซัพพลายเชน อีกทั้งรองรับเทคโนโลยี RF ID (Radio Frequency ID) ซึ่งจะช่วยให้สามารถตรวจสอบสินค้าคงคลังได้อัตโนมัติลดความสูญเสียของวัสดุต่าง ๆ ลง และยังมีระบบที่สามารถวิเคราะห์สภาพธุรกิจ ซึ่งช่วยให้ผู้จัดการและพนักงานทราบถึงการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน สามารถเรียกดูรายงานพื้นฐาน หรือใช้ OLAP Cube (Online Analytical Processing ) เมื่อต้องการวิเคราะห์ระดับสูง มีเครื่องมือที่ทำงานเหมือนกับMicrosoft Office Outlook และ Excel จึงช่วยให้สามารถแสดงผลข้อมูลด้วยแผนภูมิ
การเจาะหาข้อมูลในรายละเอียดได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจถึงปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและปัญหาต่าง ๆ ภายในองค์กรซึ่งต้องการ การแก้ไขโดยเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องรอดูรายงานเนื่องจากเครื่องมือเหล่านี้ล้วนพัฒนาขึ้นบนฐานของ Microsoft Office ที่คุ้นเคยเป็นอย่างดีจึงสามารถสร้างรายงานและส่งให้ผู้ร่วมงานได้อย่างรวดเร็ว โดยทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์ที่รู้จักกันดี เช่น Microsoft SQL Server, BizTalk Server, Exchange, Office และ Windows นี่คือสิ่งที่ Microsoft วางไว้สำหรับ Microsoft Dynamics AX














รูป แสดงการใช้โปรแกรมในระบบ Microsoft Dynamics AX

สำหรับ ระบบ ERP ที่กล่าวมาข้างต้นยังมีระบบที่เราท่านรู้จักกันดีก็คือ Application
Products ของ Oracle ที่มีโมดูลให้เลือกใช้กับธุรกิจหลายรูปแบบเช่น Customer Relationship
Management, Financial Accounting, Human Resources, Supply Chain, Public Sector
Applications, Banking Applications, Retail Applications, Telecom Applications, Higher
Education Applications และ Other Industries ในส่วนของระบบ ERP ที่พัฒนาและจำหน่ายมีอีก
หลายแห่งไม่ว่า Crystal Software Group ที่พัฒนา FORMA ERP หรือ NP PointAsia และระบบ
ที่น่าสนใจอีกระบบก็คือ เป็นระบบที่ภาครัฐให้การสนับสนุน ในโครงการแผนปรับโครงสร้าง
อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ได้พัฒนาโปรแกรม
Software ERP (Enterprise Resource Planning)/ Quick Response for Textile & Garment Industry
ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ควบคุมองค์กร ที่ใช้สำหรับการจัดการและสร้างระบบการเชื่อมโยงระหว่าง
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งโครงการนี้ เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างมาตรฐานของ
อุตสาหกรรม ในการเก็บและให้ข้อมูลในการใช้งานเพื่อควบคุมองค์กร โดยระบบประกอบด้วย
โปรแกรม Sale & Marketing, Inventory, Purchase, Production, Production Planning, Point of Sale
and Bar coding + (Product Design , Product Development , Procurement & Auction) ซึ่งท่าน
สามารถขอตัวอย่างทดสอบ (DEMO) เพื่อเปรียบเทียบการใช้งานในองค์กรของท่าน และถ้า
สอดคล้องกับระบบงานของท่าน ท่านสามารถติดต่อกับหน่วยงานดังกล่าวได้
การนำพาองค์กรให้ก้าวนำอยู่ในสังคมเศรษฐกิจยุคดิจิตอล องค์กรจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง

(Change Management) และสร้างบรรยากาศให้บุคลากรในองค์กรยอมรับกระแสการเปลี่ยนแปลง
เพื่อจัดระเบียบและกติกาใหม่ของสังคมดิจิตอล ที่จะต้องเรียนรู้และสร้างความเข้าใจกับเทคโนโลยี
ในระดับหนึ่ง ในขณะที่วงการคอมพิวเตอร์ก็พยายามทำทุกอย่าง ให้การใช้เทคโนโลยีง่าย และเป็น
ธรรมชาติมากขึ้น ดังนั้นการพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี จึงมีความสำคัญ
เพื่อการก้าวร่วมกันและสร้างองค์กรให้มีความเข้มแข็ง และในองค์กรจะต้องมีเครื่องมือ (Tools) ที่มี
ประสิทธิภาพ และเครื่องมือที่สำคัญในการบริหารองค์กรระบบหนึ่งก็คือ ระบบการวางแผนและ
ควบคุมทรัพยากรในองค์กร (ERP) ซึ่งเป็นแหล่งสารสนเทศที่สำคัญในการวางแผนและตัดสินใจ
ระบบจะมีประสิทธิภาพนั่นก็หมายถึง ข้อมูลต้องทันสมัยและเป็นหนึ่งเดียวหรือ Single Database
โดยเชื่อมโยงเครือข่ายการสื่อสารถึงกันในแต่ละหน่วยงาน และเป็นมาตรฐานเดียวกัน ด้วยแหล่ง
ข้อมูลกลางเป็นหลัก อีกทั้งระบบจะต้องรองรับการเชื่อมโยงกับหน่วยงานพันธมิตรภายนอกที่
เกี่ยวข้อง เพราะสังคมวันนี้ ไม่มีระยะทาง ไม่มีเวลา และสถานที่ เป็นอุปสรรค์ การตัดสินใจจะยืน
อยู่กับสารสนเทศและหลังจอสี่เหลี่ยมบนเครือข่าย.

แหล่งอ้างอิง
http://www.sap.com
http://www.oracle.com
http://www.qad.com
http://erp.manufacturer-supplier.com
http://www.microsoft.com/thailand/dynamics/product/ax/
http://www.thaitextile.org/th/ERP/index.htm

สมาชิกกลุ่ม





EPR