ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ระบบ SAN




ยุคการจัดการความรอบรู้ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว อิเล็กทรอนิกส์ทำให้ระบบการเรียนรู้ต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปมาก เรามีระบบการเรียนรู้แบบ
ใหม่ที่ชื่อ eLearning ใช้สื่อข้อมูลเป็นแหล่งการเรียนรู้ใหญ่ มีระบบ eLibrary เก็บข้อมูลหนังสือที่เป็นแบบ eBook รวมทั้งสิ่งพิมพ์ประเภท eMagazine eJournal และ eProceeding ระบบ e ยังทำให้เกิดการเรียนรู้แบบ eEducation on Demand หรือ eEOD
หากแหล่งความรู้มีการจัดเก็บในรูปแบบสื่อดิจิตอล ซึ่งก็ต้องใช้ที่เก็บจำนวนมาก การใช้ที่เก็บในรูปสื่อมัลติมีเดีย ทำให้ขนาดของที่เก็บมีขนาดความจุเพิ่มสูงขึ้น ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลจะก้าวหน้าไปมากแล้วก็ตาม การดำเนินการพัฒนาขนาดและเทคโนโลยีก็ต้องดำเนินต่อไป เพราะหากพิจารณาถึงขุมความรู้จำนวนมหาศาลที่จะเก็บ (ลองนึกถึงขนาดของ eLibrary หรือดิจิตอลไลบารีดู) การจัดเก็บจึงต้องมีการพัฒนา
ในอดีตที่ผ่านมา เราใช้แนวคิดที่ว่าคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องประกอบด้วย ซีพียู หน่วยความจำหลัก และหน่วยความจำรองที่เก็บข้อมูลจำนวนมากได้ เช่น ฮาร์ดดิสค์ ซีดีรอม หรือดีวีดี นั้นหมายความว่า ระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งระบบมีที่เก็บข้อมูลหนึ่งที่ และให้คอมพิวเตอร์เหล่านั้นเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย ดังรูป


เมื่อถึงคราวใช้งานบนเครือข่าย การคำนวณบนเครือข่ายย่อมต้องอาศัยการรับส่งข้อมูลระหว่างกัน บางแห่งมีการตั้งเป็นฟาร์มของเซิร์ฟเวอร์เรียกว่า เซิร์ฟเวอร์ฟาร์ม เซิร์ฟเวอร์เหล่านี้ดูแลฮาร์ดดิสค์หรือที่เก็บของตนเอง ดังนั้นเมื่อทำงานร่วมกันบนเครือข่ายก็จะมีการส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันและโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน ใช้เวลานานมาก การจัดการข้อมูลที่มีขนาดใหญ่และส่งผ่านกัน ย่อมเกิดปัญหาในเรื่องการโอนย้ายผ่านเครือข่าย โดยเฉพาะช่องการส่งข้อมูลอาจมีจำกัด เช่น ระบบ SCSI ที่มีแถบจำกัด
เซิร์ฟเวอร์ฟาร์ม แนวคิดในเรื่องการจัดการข้อมูลจำนวนมาก จึงต้องปรับเปลี่ยนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบโดยรวม ลองนึกดูว่า ถ้ามีข้อมูลขนาดใหญ่ชุดหนึ่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง ต้องใช้ร่วมกัน การที่จะให้เซิร์ฟเวอร์หนึ่งส่งข้อมูลไปให้เครื่องอื่นย่อมติดขัด ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานต่ำลง แต่หากให้ทุกซีพียู หรือเครื่องหลาย ๆ เครื่องเรียกใช้ข้อมูล ซึ่งเสมือนข้อมูลเก็บอยู่ในที่เก็บที่แบ่งการใช้งานได้ทันที ทำให้เสมือนการติดต่อผ่านระบบที่เรียกว่า SAN Storage Area Network



SAN เป็นระบบเครือข่ายของที่เก็บข้อมูล โดยนำอุปกรณ์ที่จัดเก็บข้อมูลมาติดตั้งรวมกันเป็นเครือข่าย มีระบบจัดการข้อมูลบนเครือข่ายที่ทำให้รับส่งข้อมูลได้รวดเร็ว ทำให้ข้อมูลที่เก็บเสมือนเป็นส่วนกลางที่แบ่งให้กับซีพียูหลายเครื่องได้ การจัดเก็บที่เก็บแบบนี้จึงต้องสร้างสถาปัตยกรรมใหม่ เพื่อให้รองรับระบบดังกล่าว การทำงานนี้จึงคล้ายกับการสร้างเครือข่ายของที่เก็บข้อมูลแยกต่างหาก เป็นการสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพได้ และสามารถใช้งานได้ดีกว่าแบบเดิม






ด้วยเหตุผลที่แนวโน้มของการเก็บข้อมูลข่าวสารความรู้ในองค์กรมีมาก การดูแลฐานความรู้และข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่ จำเป็นต้องมีการสร้างระบบเพื่อรองรับองค์กรในอนาคต SAN จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของการบริหารและจัดเก็บข้อมูลบนเครือข่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

EPR