ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การใช้ประโยชน์จาก RFID ในห่วงโซ่อปทานยา

การใช้ประโยชน์จากRFID ในห่วงโซ่อุปทานยา
(ห้ามคัดลอกนะครับ พิมพ์เอา จะได้ทำข้อสอบได้ )

1.ทำไมจึงต้องนำ RFID มาใช้
นำมาใช้ในการตรวจสอบยาปลอม และการติดตามข้อมูลการรักษาย้อนหลังของผู้ป่วย ในกรณีที่ต้องเปลี่ยนแพทย์ในการรักษา ทำให้แพทย์ทราบข้อมูลของผู้ป่วยและสามารถรักษาได้อย่างถูกต้อง และสามารถใช้ในการติดตามตัวผู้ป่วยในกรณีของผู้ป่วยที่เป็นอัลไซเมอร์ (Alzheimer) ได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีการใช้ RFID ในสุขภัณฑ์ยา โดยมี Reader ขนาดพกพา ให้ผู้ป่วยที่ตาบอด สามารถถือ Reader มือถืออ่าน Tag ที่ขวดยาและ Reader อ่านออกเสียงให้คนตาบอดทราบได้ว่า เป็นยาอะไร หรือติด Tag ที่รถเมล์ก็ดี เมื่อวิ่งผ่านป้ายที่มี Reader ก็อ่านเลขรถอัตโนมัติคนตาบอดได้ขึ้นได้
RFID หรือ Radio Frequency Identification เป็นไมโครชิพอัจฉริยะ โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุเข้ามาช่วยอ่านรหัสเฉพาะ ในขณะที่มีการเคลื่อนไหวพร้อมกันได้หลายชิ้น (Tag) ด้วยความเร็วสูงตั้งแต่ 50 ชิ้นต่อนาที และสามารถอ่านค่าได้ แม้จะอยู่ในระยะไกล ซึ่งจะต่างกับระบบบาร์โค้ดแบบเดิม ซึ่งจะต้องนำสินค้านั้นไปแนบติดกับเครื่องอ่าน (Scanner) หรืออุปกรณ์อ่านค่าบาร์โค้ด ซึ่งมีข้อจำกัดของข้อมูลที่ไม่สามารถให้รายละเอียดได้เหมือนกับ RFID ซึ่งจะมีไมโครชิพ หรือ Digital Chip ซึ่งมีขนาดเล็กมาก แต่มีขีดความสามารถในการเก็บข้อมูลและสามารถส่งสัญญาณวิทยุ แม้แต่ในที่ปิดทึบ โดยอาศัยเสาอากาศรับสัญญาณ เพื่อใช้ในการถอดรหัสส่งเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ จะทำให้ RFID เมื่อนำมา
2.ข้อดีและข้อเสียของการนำ RFID มาใช้
ข้อดีของ RFID
 มีความละเอียด และสามารถบรรจุข้อมูลได้มาก
 มีความเร็วในการอ่านข้อมูลสูง
 สามารถอ่านข้อมูลได้พร้อมกัน
 สามารถส่งข้อมูลได้โดยไม่ต้องสัมผัส
 สามารถเขียนทับข้อมูลได้ หรือ นำกลับมาใช้ใหม่
 ระบบความปลอดภัยสูง
 ทนทานต่อสภาพแวดล้อม
 ลดจำนวนพนักงาน
 ลดความผิดพลาด
 ลดปริมาณสินค้าคงคลัง
 ป้องกันการขโมย
 เพิ่มสภาพคล่องให้กับห่วงโซ่อุปทาน
 สามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ได้มากมาย
 ฯลฯ
ข้อเสียของ RFID
 ราคาชิปสูง
 มาตรฐาน RFID ยังไม่เป็นมาตรฐานสากล
 การละเมิดความเป็นส่วนบุคคล

3.ระบบ RFID ยังสามารถนำไปใช้ในด้านใดได้อีก อธิบายและให้เหตุผลประกอบ
ระบบ RFID ยังสามารถนำไปใช้ในระบบการค้าปลีก และการค้าส่ง (Retail & Wholesaler) โดยห้าง “วอล์ล มาร์ท” ซึ่งเป็นห้างที่ใหญ่ที่สุดในโลกและการนำ RFID ไปใช้กับ Supply Chain โดยได้เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2548 โดยการเชื่อมเครือข่ายเริ่มตั้งแต่ เมื่อลูกค้าได้หยิบสินค้าออกจากชั้นวางของ RFID จะส่งสัญญาณไปยังศูนย์รวมเพื่อประมวลข้อมูลสินค้าคงเหลือกับ Safety Stock หลังจากนั้นก็จะส่งใบสั่งซื้อ Order Online Stock ไปยังคู่ค้า Supplier เพื่อให้ผลิตและส่งมอบสินค้ามาทดแทน ทั้งนี้ RFID จะส่งเสริมต่อประสิทธิภาพของ VMI หรือ Vendor Managed Inventory คือ การจัดการควบคุมปริมาณการรับสินค้าจากคู่ค้าให้สอดคล้องกับการผลิตและการส่งมอบ ทำให้ช่วยลดต้นทุนและทำให้การส่งมอบเป็นแบบ Real Time ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเพียงบางตัวอย่างของ RFID ซึ่งจะเข้ามามีบทบาทต่อการจัดการโซ่อุปทานในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและทำให้ระบบซัพพลายเชนเป็น e-Supply Chain อย่างแท้จริง โดยคาดว่าในปี 2008 ทั่วโลกจะมีการใช้ RFID มีมูลค่าประมาณกว่าแสนสองหมื่นล้านบาท ซึ่งระบบโลจิสติกส์ในอนาคตจะขึ้นอยู่กับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการสื่อสาร ขณะที่ผู้ประกอบการไทยยังขาดความรู้และความเข้าใจในการนำเทคโนโลยี รวมทั้ง ระบบ RFID มาใช้เพื่อการจัดการ ทั้งนี้ ในยุคที่การค้าเสรีภายใต้ข้อตกลง FTA มาตรการกีดกันทางการค้าจากประเทศผู้นำเข้าจะมีความรุนแรง การพิสูจน์แหล่งที่มาของของสินค้าเพื่อความปลอดภัย รวมถึง มาตรการป้องกันการก่อการร้าย จะเพิ่มดีกรีมากขึ้น จำเป็นที่ประเทศผู้ส่งออกอย่างประเทศไทย ซึ่งไม่สามารถต่อรองอะไรได้มากนักในเวทีเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศ โดยภาครัฐจะต้องให้ความสำคัญ รวมทั้ง องค์กรภาคเอกชน เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จะต้องเข้ามามีส่วนสำคัญในการผลักดันให้มีการกำหนดเป็นวาระแห่งชาติเกี่ยวกับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และนวัตกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

EPR