ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2552

คำถามท้ายบทที่ 5

1. ความหมาย และองค์ประกอบหลักของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ในความเป็นจริงแล้วรายงานชนิดต่างๆ ยังไม่สามารถตอบคำถามที่เกิดขึ้นในขบวนการตัดสินใจได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากรายงานเหล่านั้นยังไม่สามาถนำมาใช้ได้ทันต่อเหตุการณ์และยังไม่สามารถนำมาทดสอบเพื่อดูผลของการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้จัดการสามารถหาคำตอบของคำถามต่างๆ เพื่อทำการตัดสินใจด้วยการใช้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์หรือแผนภาพได้ดีขึ้น ความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจคือ ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยผู้ตัดสินใจที่ต้องเผชิญกับปัญหาที่มีโครงสร้างระดับต่างๆ โดยสามารถทดสอบผลการตัดสินใจในการแก้ปัญหาด้วยตัวแบบข้อมูลและทำการวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจช่วยในการตัดสินใจปัญหาได้หลากหลายรูปแบบ สามารถช่วยในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน เช่น ผู้ผลิตต้องการหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการสร้างโรงงานผลิตแห่งใหม่หรือโรงงานน้ำมันต้องการเลือกสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดในการขุดเจาะหาน้ำมัน ซึ่งจะเห็นว่าระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการทั่วไปไม่สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ แต่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสามารถช่วยแนะนำทางเลือกในการปฏิบัติและช่วยในการตัดสินใจเพื่อหาคำตอบของปัญหาเหล่านี้ได้ นอกจากนี้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจยังเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจการบริหารรูปแบบต่างๆ ดังนั้นจึง จำเป็นต้องสามารถรองรับรูปแบบการตัดสินใจของผู้ใช้ที่หลากหลายด้วย
2. ลักษณะและความสามารถของระบบสนับสนุนการตัดสินใจมีอะไรบ้าง
- สนับสนุนการตัดสินใจทั้งในสถานการณ์แบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง
- สนับสนุนการทำงานของผู้บริหารได้หลายระดับ
- สนับสนุนการตัดสินใจแบบเฉพาะบุคคลและแบบกลุ่ม
- สนับสนุนการตัดสินปัญหาที่เกี่ยวพันซึ่งกัน
- สนับสนุนทุกขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจ
- สนับสนุนการตัดสินใจหลายๆรูปแบบ
- สามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการจัดการเงื่อนไขต่างๆ มีความยืดหยุ่นสูง
- สามารถใช้งานได้ง่าย- เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ
- สามารถควบคุมทุกขั้นตอนในการตัดสินใจได้
- ผู้ใช้สามารถสร้างและปรับปรุงระบบ DSS ขนาดเล็กแบบง่ายๆได้ด้วยตนเอง
- มีการใช้แบบจำลองต่างๆ
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจขั้นสูงมีความแตกต่างจากระบบผู้เชี่ยวชาญอย่างไร- ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของมนุษย์ ผู้ใช้ระบบทำการตัดสินใจเอง และป้อนข้อมูลฐานระบบขอบเขตกว้างและซับซ้อน ไม่มีความสามารถในการให้เหตุผลและจำกัดความสามารถในการอธิบาย ส่วน
- ระบบผู้เชี่ยวชาญ มีวัตถุประสงค์ในการทดแทนคำแนะนำของในมนุษย์ มีระบบทำการตัดสินใจและระบบคำถามกับผู้ใช้ ขอบเขตแคบและเฉพาะเจาะจง มีความสามารถในการให้เหตุผลอย่างจำกัด และมีความสามารถในการอธิบาย
4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่มมีประโยชน์ และแตกต่างจากระบบสนับสนุนส่วนบุคคลอย่างไร- ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่ม เป็นการตัดสินปัญหาบางส่วนในองค์การต้องอาศัยการตัดสินใจในรูปของคณะกรรมการหรือคณะทำงานประโยชน์ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่ม
1. ช่วยเตรียมความพร้อมในการประชุม
2. อำนวยความสะดวกด้านการสื่อสารระหว่างสมาชิก
3. ส่งเสริมและสร้างบรรยากาศในการร่วมมือกัน
4. จัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสม
5. ช่วยจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
6. อำนวยความสะดวกในการจัดทำเอกสารประกอบการประชุม
7. ช่วยประหยัดเวลาและสามารถลดจำนวนครั้งของการประชุมได้
- ส่วนระบบสนับสนุนการตัดสินใจส่วนบุคคลได้รับการออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของแต่ละบุคคล ซึ่งผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนเงื่อนไขต่างๆได้ด้วยตนเอง
5.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจนำมาใช้ในธุรกิจต่างๆ ด้านล่างนี้ได้อย่างไร จงอธิบาย และยกตัวอย่างประกอบ
5.1 ธุรกิจโรงเรียน ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ

ในการจัดทำแผนกลยุทธ์ระดับสถานศึกษา พบว่ามีปัจจัยหลายด้าน ในการนำพา ให้การดำเนินกิจกรรมนี้ประสบความสำเร็จได้ ส่วนที่อยากจะตอกย้ำก็คือเรื่องข้อมูลที่ดี มีคุณภาพ สถิติที่ชัดเจน ผลการดำเนินงานที่เห็นเป็นเชิงประจักษ์ ถ้าเขียนแบบสั้น ๆ ก็คือ ข้อมูลสารสนเทศ ของการทำงานที่ผ่านมา ต้องแน่น มากพอ ที่จะตัดสินใจ ในการทำงานครั้งหน้า นี่เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น นะคะ ทุกอย่างก็ต้องประกอบกันค่ะ จึงจะทำให้แผนการจัดทำนี้สำเร็จได้
หลักสำคัญที่จะช่วยให้สมาชิกทีมวางแผนกลยุทธ์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นคือ
หลักการที่ 1 : ให้เวลาค่อนข้างมากในการสำรวจค่านิยมพื้นฐานของหน่วยงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งของกลุ่มผู้นำระดับอาวุโส และรวมทั้งของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญ ๆ ด้วย ก่อนที่จะเริ่มพัฒนาองค์ประกอบอื่น ๆ ของแผนกลยุทธ์
หลักการที่ 2 : ให้ผู้นำระดับอาวุโสของหน่วยงานมีส่วนเกี่ยวข้องกับทุกขั้นตอนของแผนกลยุทธ์ทั้งการพัฒนาและการนำไปใช้
หลักการที่ 3 : รวบรวมข้อมูลจากทุกส่วนของหน่วยงาน รวมทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญ ๆ ด้วยทุกกลุ่ม
หลักการที่ 4 : สร้างภาพวิสัยทัศน์สำหรับอนาคตโดยกล้ามองข้ามอุปสรรคในสถานการณ์ปัจจุบัน
หลักการที่ 5 : การสร้างทีมวางแผนกลยุทธ์ จำเป็นต้องมีผู้แทนจากทุกกลุ่มหรือทุกด้านที่สำคัญของหน่วยงานหรือของแต่ละส่วนงาน เลือกคนดีมีความเหมาะสม
หลักการที่ 6 : บุคลากรทุกระดับขององค์การรวมทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญ ๆ ควรได้อ่านและให้ข้อคิดเห็นก่อนที่จะมีการตัดสินใจเลือกดำเนินการต่อไป ร่างแผนกลยุทธ์
หลักการที่ 7 : ในการอภิปราย ต้องการความจริง แม้ว่าบางครั้งความจริงบางอย่างอาจจะทำให้บางคนไม่สบายใจก็ตาม เพื่อให้แผนมีฐานอยู่บนข้อมูลและสมมติฐานที่แท้จริง
หลักการที่ 8 : พัฒนาแผนกลยุทธ์ด้วยความตั้งใจ จะเกิดความสนุกสนานในการดำเนินการอย่างจริงจัง เนื่องจากแผนกลยุทธ์ขึ้นมาจากชีวิตจิตใจ และเจตนารมณ์ของผู้ร่วมทีมทุกคน
5.2 ธุรกิจโรงพยาบาล ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเมื่อหลายปีก่อน แม้จะมีหลายข้อเสีย แต่ก็มีประโยชน์ต่อการตลาดของโรงพยาบาลเอกชนในปัจจุบันไม่น้อย เพราะนอกจากจะทำให้คนไทยเลือกใช้บริการโรงพยาบาลที่เหมาะกับกำลังจ่ายของตัวเองมากขึ้นเป็นผลให้การแบ่งกลุ่มลูกค้าของโรงพยาบาลเอกชนชัดเจนขึ้นแล้ว โรงพยาบาลที่อยู่รอดจากวิกฤตเศรษฐกิจส่วนมากก็คือโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ที่มีรูปแบบการให้บริการที่เด่นชัด มีการรวมกลุ่มที่แข็งแกร่ง และมีกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน ทำให้ภาวะการแข่งขันของโรงพยาบาลในปัจจุบันแม้จะทวีความรุนแรงขึ้น แต่ก็มีจำนวนผู้เล่นน้อยลง การแข่งขันจึงเป็นไปในเชิงคุณภาพมากขึ้น

กลยุทธ์เพิ่มคุณค่าโรงพยาบาลไทย
1. บุกตลาดอินเตอร์
เพราะจำนวนผู้ป่วยคนไทยของโรงพยาบาลเอกชนน้อยลงจากวิกฤติเศรษฐกิจทำให้ผู้ประกอบการหลายแห่งหันมาสนใจตลาดต่างประเทศอย่างจริงจัง ประกอบกับมาตรฐานที่ค่อนข้างสูงของโรงพยาบาลไทยจำนวนมากในปัจจุบันที่พร้อมรักษาชาวต่างชาติ นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการกลายเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแห่งใหม่ในภูมิภาคเอเชียในอนาคต
§ จำนวนผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชนไทยรวม 400 ราย
§ พร้อมให้บริการชาวต่างชาติ 33 ราย
กลุ่มลูกค้าหลักได้แก่ ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เจ็บป่วย นักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทย และ ผู้ป่วยต่างชาติที่ตั้งใจเข้ามารักษาในประเทศไทย
§ ตลาดใหญ่คือ ญี่ปุ่น 1.3 แสนคน อเมริกา 5.9 หมื่นคน อังกฤษ 4.1 หมื่นคน
§ ภายในปี 2-3 ปีข้างหน้า รัฐบาลคาดว่าจำนวนผู้ป่วยชาวต่างชาติจะเพิ่มเป็น 2 เท่า คือ 1 ล้านคน มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ย 15% ซึ่งคิดเป็นมูลค่าบริการประมาณ 27,000 - 30,000 ล้านบาท
5.3 ธุรกิจผลิตรถยนต์ ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
เครื่องมือที่บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ พัฒนาขึ้นมาขจัดความสูญเปล่านี้ได้แก่ การผลิตแบบทันเวลาพอดี ( just - in - time - production) หรือ JIT กับการใช้เครื่องจักรแบบอัตโนมัติที่ควบคุมตนเองได้ (automation)ในสายการผลิตแบบปกติธรรมดาทั่ว ๆ ไปนั้น สถานีงานที่หนึ่งจะผลิตชิ้นส่วนป้อนสถานีงานที่สอง สถานีงานที่สองจะผลิตชิ้นส่วนป้อนสถานีงานที่สาม….ไปจนถึงสถานีงานรองสุดท้ายผลิตชิ้นส่วนป้อนสถานีงานสุดท้าย ทำให้ชิ้นส่วนจากสถานีงานหนึ่งถูกดันไปยังสถานีงานถัดไป หากสถานีงานถัดไปนั้นยังไม่จำเป็นต้องใช้ ชิ้นส่วนก็จะค้างและเสียเวลารอคอยให้ใช้อยู่อย่างนั้น เมื่อหมดเวลาทำงานในแต่ละวันจะมีสินค้าระหว่างผลิตค้างอยู่ในสายการผลิตเป็นจำนวนมาก แต่ในสายการผลิตแบบ JIT จะทำย้อนกลับ กล่าวคือสถานีงานที่หนึ่งจะไม่ป้อนชิ้นส่วนให้สถานีงานที่สอง หากสถานีงานที่สองไม่ขอให้ส่งชิ้นส่วนไปให้สถานีงานที่สาม ตราบเท่าที่สถานีงานที่สามไม่ขอให้ส่งชิ้นส่วนไปให้……สถานีงานรองสุดท้ายจะไม่ป้อนชิ้นส่วนให้สถานีงานสุดท้าย ตราบเท่าที่สถานีงานสุดท้ายไม่ขอให้ส่งชิ้นส่วนไปให้ โดยวิธีนี้แทนที่ชิ้นส่วนจะถูกดันจากสถานีงานหนึ่งไปยังสถานีงานถัดไปกลับกลายเป็นว่าชิ้นส่วนจะถูกสถานีงานถัดไปมาดึงเอาจากสถานีงานที่อยู่ก่อนหน้า โดยการใช้วิธีนี้ เมื่อต้องการให้รถยนต์รุ่นใดสำเร็จออกไปจากสายการผลิต สถานีงานสุดท้ายก็จะดึงเอาชิ้นส่วนสำหรับรถยนต์รุ่นนั้นมาจากสถานีรองสุดท้าย สถานีรองสุดท้ายจะดึงเอาชิ้นส่วนสำหรับรถยนต์รุ่นเดียวกันมาจากสถานีก่อนหน้า…...ไปจนถึงสถานีงานแรก การผลิตแบบนี้ทำให้สามารถผลิตรถยนต์ได้หลายรุ่นในสายการผลิตเดียวกัน จึงตอบสนองความต้องการหรือสร้างความพอใจให้แก่ความอยากได้ของลูกค้าได้ดีกว่า และยังสามารถขจัดความสูญเปล่าชนิดที่หนึ่งถึงหกได้อีกด้วยเครื่องมือที่สถานีงานต่าง ๆ ใช้ดึงเอาชิ้นส่วนที่ต้องการจากสถานีงานที่อยู่ก่อนหน้านี้เรียกว่า คัมบัง (kanban) ซึ่งโดยรูปศัพท์หมายถึงแผ่นป้ายหรือบัตร ปกติทำด้วยกระดาษแข็งระบุชิ้นส่วนที่ต้องการใช้เอาไว้อย่างถาวร แต่ถ้ามองในแง่ระบบ คัมบังก็คือระบบการสื่อสารอย่างหนึ่งนั่นเอง
การใช้คัมบังไปดึงเอาชิ้นส่วนที่ต้องการ ในจังหวะเวลาที่ต้องการ ทำให้ผลิตสินค้าออกมาได้ทันเวลาที่ต้องการพอดี ในสายการผลิตที่ใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ (automatic) แบบธรรมดานั้นหากมีการผลิตชิ้นส่วนผิดไปจากเกณฑ์กำหนดที่ตั้งไว้ เครื่องจักรนั้นจะผลิตออกมาโดยไม่หยุด เช่น ถ้าตั้งเกณฑ์กำหนดให้ผลิตน๊อตมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 นิ้ว อนุญาตให้คลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 0.025 นิ้ว เครื่องจักรนั้นก็จะผลิตออกมาเรื่อย ๆ ต่อมาจะเป็นด้วยสาเหตุใดก็ตาม เครื่องจักรนั้นเกิดผลิตน๊อตขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 0.532 นิ้ว (เกินเกณฑ์กำหนดไป 0.007 นิ้ว) ออกมาซึ่งนำไปประกอบเข้ากับชิ้นส่วนอื่นไม่ได้ เครื่องจักรอัตโนมัติแบบธรรมดานี้จะยังคงผลิตน๊อตที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้นั้นต่อไปจนกว่าพนักงานควบคุมเครื่องจะมาหยุดเดินเครื่องจักร นั่นหมายความว่าความสูญเปล่าชนิดที่เจ็ดได้เกิดขึ้นมากมายแล้ว แต่เครื่องจักรอัตโนมัติที่ควบคุมตนเองได้ (automation) จะหยุดเดินเครื่องด้วยตัวเองทันทีที่ปรากฏว่าผลิตชิ้นส่วนแตกต่างไปจากเกณฑ์กำหนดออกมา ระบบการผลิตของโตโยต้า ดังกล่าวมานี้ได้ขยายไปยังบริษัทในเครือและบริษัท ที่ผลิตชิ้นส่วนป้อนโรงงานประกอบรถยนต์ของโตโยต้า ทั้งหมดแล้วเริ่มแพร่หลายออกไปยังโรงงานทั่วประเทศญี่ปุ่นและขยายไปทั่วโลกโดยมีชื่อหลักว่าระบบการผลิตแบบญี่ปุ่น (Japanese production system) หรือ JIT production ดังกล่าวและมีชื่อรองอีกสองชื่อคือ stockless production กับ zero inventory production ปัจจุบันในวงการอุตสาหกรรมการผลิตยอมรับกันว่าระบบการผลิตแบบโตโยต้าล้ำหน้าไปไกลกว่าระบบการผลิตของ Taylor (บิดาแห่งการบริหารงานเชิงวิทยาศาสตร์) กับระบบการผลิตของ Henry Ford (บิดาแห่งการผลิตแบบมวล หรือ ) เสียอีก

ความสำคัญของการบริหารการผลิตในเชิงยุทธศาสตร์

ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจนั้น นอกจากจะต้องเอาชนะใจลูกค้าให้มาซื้อผลิตภัณฑ์ของบริษัทแล้ว ยังต้องเอาชนะคู่แข่งขันอีกด้วย แนวทางในการเอาชนะคู่แข่งขัน มีอยู่ด้วยกันหลายมิติ แต่ที่ฝ่ายการผลิตต้องรับผิดชอบโดยตรง มีดังนี้

1. ประสิทธิภาพของต้นทุน (cost efficiency) เป็นที่ทราบกันดีว่าองค์การทางธุรกิจใดมีความสามารถในการผลิตสิน้คาและ / หรือบริการออกมาโดยมีต้นทุนต่ำ ย่อมสามารถกำหนดราคาสินค้าให้เป็นที่พอใจของลูกค้าได้ดี โดยที่กำไรไม่ลดลง เพราะ กำไร = ราคา - ต้นทุน ยิ่งถ้าเป็นการผลิตจำหน่ายอยู่ในตลาดแข่งขันเสรีที่มีกลไกของตลาดทำหน้าที่กำหนดราคาด้วยแล้ว การลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำที่สุดยิ่งเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นอาวุธที่จะเอาชนะคู่แข่งขันได้โดยไม่ยาก ฝ่ายการผลิตเป็นหน่วยงานหลักที่ได้ชื่อว่าใช้ทรัพยากรและสินทรัพย์ทุนมากที่สุดในบริษัท จึงต้องรับภาระหนักที่สุดในด้านประสิทธิภาพของต้นทุน การเพิ่มประสิทธิภาพของต้นทุนอาจทำได้หลายวิธี เช่น การลดค่าโสหุ้ย การใช้อุปกรณ์การผลิตชนิดอเนกประสงค์ การใช้ประโยชน์จากระบบการผลิตอย่างเต็มกำลัง การควบคุมวัตถุดิบอย่างใกล้ชิด การเพิ่มผลิตภาพให้สูงสุด และการจ้างแรงงานในอัตราต่ำ เป็นต้น
2. คุณภาพ (quality) คุณภาพเป็นสิ่งที่ใคร ๆ ก็ต้องการแม้ว่าบางครั้งอาจต้องชำระ ราคาเพิ่มขึ้นบ้างเพื่อ “คุณภาพพิเศษ” ของผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคก็เต็มใจที่จะชำระในกรณีปกติทั่ว ๆ ไป ถ้าตัวแปรอื่น ๆ คงที่ คือเท่ากันในทุก ๆ บริษัทที่ประกอบการอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ผลิตภัณฑ์ของบริษัทใดเหนือกว่าในด้านคุณภาพ ผลิตภัณฑ์นั้นย่อมมีโอกาสขายได้มากกว่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น ทักษะของพนักงาน ตรงของอุปกรณ์การผลิต การจูงใจและสร้างความภูมิใจให้แก่พนักงาน การชี้แจงให้พนักงานทราบถึงมาตรฐานของการทำงาน เป็นต้น
3. ความเชื่อถือได้ (dependability) หมายถึง การกระจายผลิตภัณฑ์ออกครอบคลุมตลาดให้มากที่สุด ให้ทั่วถึงที่สุดเท่าที่จะทำได้ ฝ่ายการผลิตซึ่งรับผิดชอบในการผลิตสินค้า ต้องผลิตออกมาให้ได้ตรงตามกำหนดเวลาในตารางการผลิต และยังต้องรับผิดชอบในการขนส่งไปยังจุดหมายปลายทางให้ตรงตามกำหนดเวลาอีกด้วย อันจะเป็นการทำให้ตลาดสามารถหาซื้อได้สะดวกทุกสถานที่และทุกเวลาที่อยากซื้อความเชื่อถือได้อาจสร้างขึ้นมาได้หลายวิธี เช่น การกำหนดตารางการผลิตที่มีประสิทธิผล การป้องกันอาการขัดข้องของอุปกรณ์การผลิต การป้องกันการลา การขาด หรือการลาออก การป้องกันการนัดหยุดงาน การเพิ่มจำนวนสินค้าคงคลัง หรือการสร้างพันธกิจให้พนักงานปฏิบัติตามความประสงค์ของบริษัท เป็นต้น
4. ความยืดหยุ่น (flexibility) การใช้ระบบการผลิตที่มีระดับความเป็นอเนกประสงค์สูง สามารถปรับเปลี่ยนให้ผลิตสินค้าได้มากมายหลายรุ่นหลายแบบ สนองตอบต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ได้รวดเร็ว และสามารถปรับอัตราเร็วในการผลิตได้ง่าย ความยืดหยุ่นยิ่งมีมาก ก็ยิ่งทำให้บริษัทสามารถควบคุมมิติทางด้านความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ได้มาก นั่นคือโอกาสที่จะสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าจะมีมากขึ้นตามไปด้วย หากคู่แข่งขันมีความยืดหยุ่นน้อยกว่า บริษัทย่อมเป็นฝ่ายได้เปรียบเชิงการแข่งขันความยืดหยุ่นจะเกิดขึ้นมาได้ก็ต่อเมื่อผู้รับผิดชอบในการบริหารการผลิตรู้จักติดต่อผู้จำหน่ายวัตถุดิบที่เชื่อถือได้ ส่งวัตถุดิบได้รวดเร็ว รู้จักสำรองกำลังการผลิต ใช้พนักงานที่มีความชำนาญงานหลายด้านสามารถโยกย้ายสับเปลี่ยนงานได้ตลอดเวลา รู้จักควบคุมการไหลของงานอย่างมีประสิทธิผล จัดหาอุปกรณ์การผลิตที่ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง หาวิธีการที่จะปรับแต่งเครื่องจักรโดยใช้เวลาและตันทุนน้อยที่สุด และกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ทำหน้าที่ในการออกแบบผลิตภัณฑ์กับการผลิตให้ดี มีความใกล้ชิดหรือรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นต้นมิติทั้งสี่นี้มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อการวางตำแหน่งการผลิต (production positioning) ซึ่งหมายถึง การเลือกนะบบการผลิตว่าจะให้มีคุณลักษณะมุ่งเน้นไปในมิติใดจึงจะทำให้บริษัทเกิดความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันมากที่สุด Hayes และ Wheelwright (1984 : 31) กล่าวว่า การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ในการบริหารการผลิตมีอยู่ด้วยกัน 8 ประเด็นดังแสดงในตารางที่ 2.1 โดยสี่ประเด็นแรกเป็นการตัดสินใจที่จะผูกพันบริษัทไปในระยะยาว อันเป็นการตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์ ส่วนสี่ประเด็นหลังเป็นการตัดสินใจในระยะสั้นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานวันต่อวัน อันเป็นการตัดสินใจเชิงยุทธวิธี
5.4 ธุรกิจขายรถยนต์ ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
โปรแกรมตรวจสอบราคารถยนต์
5.5 ธุรกิจโรงแรม ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
โปรแกรมเช็คข้อมูลการทองเที่ยว
5.6 ธุรกิจผลิตน้ำแข็ง ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
โปรแกรมการสั่งการปิดเปิดระบบไฟฟ้า
5.7 ธุรกิจผลิตน้ำมัน ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
โปรแกรมการสั่งจ่ายน้ำมันจากหัวจ่าย
5.8 ธุรกิจผลิตเม็ดพลาสติก ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
โปรแกรมการสั่งซื้อวัตถุดิบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

EPR