ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ERP

การวางแผนทรัพยากรขององค์กร

การก้าวกระโดดของเทคโนโลยีสารสนเทศ มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ทำให้การบริหารงานขององค์กร และกระบวนการทางธุรกิจ รวมทั้งกฎกติกาการแข่งขันทางธุรกิจถูกเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ในหลายธุรกิจที่เคยได้เปรียบและคิดว่าองค์กรของตนมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน มีความมั่นคงในองค์กร และไม่มีวันสิ้นสลาย ความคิดนั้นต้องหมดไป กับกระแสโลกในยุคเศรษฐกิจไร้พรมแดน ( Global Economy ) ที่เกิดจากนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อรูปแบบการเปลี่ยนแปลง ในสังคมดิจิตอล องค์กรที่จะยืนหยัดในกระแสที่รุนแรงเช่นนี้ได้ จะต้องตื่นตัว เพราะโลกเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้
( Knowledge Base Economy ) ที่เน้นการพึ่งพาข้อมูล สารสนเทศ ความรู้และสติปัญญา ซึ่งเป็น
ระบบเศรษฐกิจที่มีการสร้างสรรค์ จัดหา ดัดแปลง ต่อยอดให้เกิดนวัตกรรม ในการขับเคลื่อนและ
สร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแห่งตน เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนั้นคำกล่าวจากหนังสือ
IT’S ALIVE ของ Christopher Meyer ที่ว่า ".... ท่านจะยอมปรับเปลี่ยนตัวเองหรือท่านจะยอมตาย
จากไปกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้น …" องค์กรต้องปรับเร่ง
ในด้านความเร็วและเร็วอย่างผู้รู้ (Economy of Speed & Economy of Knowledge) จากตัวอย่าง
ที่เห็นได้ชัดของประเทศจีน ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด บนหนทางของการพัฒนา สิ่งที่จีนใช้บริหารจึงเป็นเรื่องของ Economy of Speed ที่บริหารทุกเรื่องได้อย่างทันเวลา และทันตามความต้องการ และจากคำกล่าวของท่านผู้รู้ที่ว่า "…สู้ด้วยยุทธศาสตร์ รบด้วยปัญญา ชนะด้วยความรู้…"
หลายท่านอ่านมาถึงตรงนี้คงสงสัยว่าผู้เขียนจะเขียนเรื่องอะไร ก็ขอได้เข้าใจว่าเป็นการเกริ่นนำ
เพื่อต้องการให้ท่านผู้อ่านได้มองเห็นภาพกว้างของสังคมโลกดิจิตอล และย่อส่วนลงมาที่หน่วยงานหรือองค์กรที่ท่านอยู่ เราไม่ต้องการแข่งขันกับใคร แต่ในขณะเดียวกัน เราต้องมีที่ยืน ไม่ว่าจะเกิดภาวะวิกฤต หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงเพียงใดก็ตาม อย่าให้กระแสสังคมเหวี่ยงเราออกนอกวงโคจรเราจำต้องปรับฐานองค์กรให้เป็น องค์กรอัจฉริยะ (Intelligence Organization) ซึ่งเป็น
กระบวนการหนึ่งของการบริหารที่มุ่งเน้นให้องค์กรและบุคลากร มีกระบวนการทำงานอย่างเป็น
ระบบ ด้วยนวัตกรรมและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อการ
ปฏิบัติงานที่เต็มไปด้วยประสิทธิผล ด้วยการเชื่อมโยงระบบสารสนเทศระหว่างหน่วยงานภายในและแหล่งข้อมูลภายนอกที่เอื้อต่อองค์กรหรือพันธมิตร ทำให้ความสามารถในการสื่อสาร การควบคุมตลอดจนการประมวลผล เป็นไปอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีความพร้อมในการเผชิญต่อการ
เปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
การบูรณาการระบบสารสนเทศ

การบูรณาการระบบสารสนเทศ จะต้องมองภาพกระบวนการทำงานทั้งหมดของระบบ
(Business Process) ซึ่งประกอบด้วยการไหลของวัตถุดิบ (Material Flow) และการไหลของข้อมูล
(Information Flow) และพิจารณาว่าในแต่ละกระบวนการสามารถนำเทคโนโลยีมาสนับสนุน ใน
ระดับใด (IT Services Level) โดยระบบสารสนเทศในแต่ละส่วนงานของกระบวนการจะเชื่อมโยง
โปรแกรมประยุกต์ (Applications) ของแต่ละส่วนงานเข้าเป็นระดับองค์กร (Enterprise) และมีฐานข้อมูล ที่เรียกว่า Single Database นั่นคือเป้าหมายของการวางแผนทรัพยากรขององค์กร หรือ
ERP (Enterprise Resource Planning) เพื่อรวบรวมงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น งานวางแผน
(Planning) งานผลิต (Production) งานขาย (Sale) งานทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) และงาน
การเงินและบัญชี(Finance/Accounting) รวมทั้งการสร้างมาตรฐาน ในกระบวนการจัดการทางธุรกิจ
และมาตรฐานข้อมูลในองค์กร ซึ่งในแต่ละองค์กรจะประกอบไปด้วยหน่วยงานหลักที่มีลักษณะ
งานที่เหมือนกัน และจะแตกต่างกันบ้างสำหรับงานเฉพาะด้านเท่านั้น เราจำเป็นต้องมีระบบบริหาร
จัดการทรัพยากรในองค์กรที่ดี แต่ในสายงาน ERP ไม่มีระบบอะไรสมบูรณ์ตามความต้องการของ
องค์กรทั้งหมด เราจำเป็นต้องมีบุคลากรในการ Customize และสร้างมาตรฐานของระบบในการใช้
ฐานข้อมูลร่วมกัน
ในการปฏิบัติงานของแต่ละองค์กรเราสามารถแบ่งงานได้เป็น 2 ลักษณะด้วยกันก็คือ
ลักษณะที่หนึ่งจะเป็นระบบการบริหารงานภายในที่เราเรียกกันว่า Back end และลักษณะที่สองจะ
เป็นระบบให้บริการที่ติดต่อกับลูกค้าหรือกับภายนอกที่เรียกว่า Front end ซึ่งปัจจุบันได้นำ
เทคโนโลยีในหลายรูปแบบมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจมากที่สุด เพื่อให้
ลูกค้ายืนอยู่ข้างเรา ในวันนี้จะขอพูดถึง ระบบการวางแผนทรัพยากรขององค์กร ที่อยู่ในส่วนของ
Back end ERP เป็นระบบการบริหารภายใน หรือในส่วน Back end ที่จะต่อเชื่อมกับระบบบริการ
ภายนอกเป็น Software ที่ใช้ในการบริหารองค์กร โดยที่มี Common Database เก็บข้อมูลทุกอย่างไว้
ที่เดียวกัน เพื่อป้องกันความซ้ำซ้อนของข้อมูล มีการใช้ทรัพยากรข้อมูลร่วมกัน โดยแต่ละส่วน
สามารถดึงข้อมูลจากส่วนกลาง มาวิเคราะห์ในส่วนที่เกี่ยวข้อง และ สามารถที่จะ Integrate หรือการ
วางแผนทรัพยากรในองค์กร ซึ่งระบบจะต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อการวางแผนและบริหาร
ทรัพยากรขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดเวลา ลดขั้นตอน และประหยัดทรัพยากร

ERP เป็นระบบสารสนเทศที่องค์กรนำมาใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อการบริหาร การวางแผนการลงทุน และบริหารทรัพยากรขององค์กร ด้วยเป็นระบบที่สามารถควบคุมกระบวนการทำงานในทุก ๆ หน่วยงานขององค์กร ด้วยการบูรณาการ (Integrate) งานหลัก (Core Business Process) ในองค์การทั้งหมด ไม่ว่า จะเป็นการจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารบุคคล รวมทั้ง
ระบบที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน เข้าสู่ฐานข้อมูลกลางด้วยมาตรฐานความสามารถในการเชื่อมโยง และการทำงานในระบบ Real Time ส่งผลให้การดำเนินงานทั้งองค์กร สอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันรูปแสดง การบูรณาการระบบสารสนเทศในองค์การ












รูปแสดง การบูรณาการระบบสารสนเทศในองค์การ
ทำไมต้องมีระบบ ERP ในองค์กร
ในองค์กรที่แต่ละส่วนงานหรือแต่ละฝ่าย ต่างทำงานกันเป็นเอกเทศโดยที่ไม่มีการเชื่อมโยง
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน นอกจากจะทำให้เกิดต้นทุนที่สูงแล้ว ข้อมูลยังมีความซ้ำซ้อนและ
ไม่มีเอกภาพ โอกาสที่จะแข่งขันกับคู่แข่ง ซึ่งปัจจุบันไม่ใช่เพียงแต่คู่แข่งภายในประเทศเท่านั้น
ดังนั้นความเชื่อมโยงของระบบข้อมูลทุกภาคส่วนในองค์กร จะต้องเป็น Single Database และเป็น
แหล่งรวมสารสนเทศ ที่สามารถบริหารจัดการแบบเรียลไทม์ หรือทันที ทันใด จากจุดนี้ทำให้เรา
สามารถวิเคราะห์และรับรู้สภาพการณ์ ในการบริหารทรัพยากรขององค์กร ซึ่งหมายถึงความสามารถ ในการปรับเปลี่ยน ความสามารถในการตัดสินใจที่รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ด้วย
สารสนเทศจากระบบที่เกิดขึ้น เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดขององค์กร

สิ่งที่ต้องพิจารณาในการจัดหาซอฟต์แวร์
ต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบของซอฟต์แวร์ ว่าระบบที่ดำเนินการจัดหามีความครอบคลุม
กระบวนการทางธุรกิจทั้งหมดหรือไม่ ระบบเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ การเชื่อมโยงระบบย่อย
ครบถ้วนตามที่แต่ละหน่วยงานต้องการหรือไม่ ตรงตามนโยบายหรือไม่ นั่นคือเงื่อนไขของระบบ
และอีกส่วนที่จะต้องพิจารณาก็คือ ระบบปฏิบัติการ ระบบฐานข้อมูล ภาษาที่ใช้ในการพัฒนา ซึ่ง
จะต้องคำนึง เพราะเป็นตัวกำหนดสภาพแวดล้อมของการใช้งานในระบบ ERP และระบบที่เลือก
ควรเป็นระบบเปิด (Open System) เพราะเมื่อใช้ไประยะหนึ่งความต้องการใหม่ ย่อมเกิดขึ้น อีกทั้ง
จะต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคู่ค้าหรือพันธมิตร ระบบต้องสามารถเชื่อมต่อกับระบบภายนอก
ได้ (ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการเชื่อมโยงเครือข่ายการสื่อสาร) และหน่วยงานต้องมีบุคลากรที่
สามารถดูแล และพัฒนาระบบเพิ่มเติมได้ ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขโปรแกรม หรือการปรับเปลี่ยน
รายงาน ซึ่งจะต้องมี Source Code ดังนั้นในการจัดหาระบบดังกล่าว ต้องมีต้นฉบับของโปรแกรม
หรือ Source Code อยู่ในข้อตกลง เพื่อการปรับปรุงแก้ไขได้ในอนาคต อีกทั้งความสามารถในการ
กำหนด สิทธิการใช้งานและระบบความปลอดภัยได้เอง และสามารถใช้แบบ Multi Company Multi
Branch และประการสำคัญคือความพร้อมของบุคลากรและการลงทุน
ระบบ ERP
การที่ระบบ ERP ได้รับความนิยมเนื่องด้วยเป็น Software ที่ครอบคลุมทุกกระบวนการของ
องค์กร และเป็น Single Database ทำให้การวิเคราะห์ และวางแผนทรัพยากรในองค์กรมีความ
สะดวก ในวงการไอทีมี Software ที่อยู่ในกลุ่มนี้ไม่น้อย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ Software
Package กับ Customizing Software Package ข้อแตกต่างของซอฟต์แวร์สำเร็จรูปทั้งสองประเภทก็
คือ Software Package นั้น เราไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยนซอฟต์แวร์ได้ตามความต้องการ ถ้าต้อง
การจะปรับเปลี่ยนซอฟต์แวร์ให้เข้ากับธุรกิจหรือปรับรูปแบบรายงาน จำเป็นที่จะต้องแก้ไข
โปรแกรมจาก Source Code ของซอฟต์แวร์สำเร็จรูปตัวนั้น แต่ถ้าเป็น Customizing Software
Package ระบบของซอฟต์แวร์ จะมีส่วนที่เรียกว่า Customizing สำหรับการปรับเปลี่ยนการทำงาน
ของซอฟต์แวร์ให้เข้ากับรูปแบบในการดำเนินธุรกิจขององค์กรได้
ระบบ ERP ที่ใช้กันในองค์กรขึ้นอยู่กับความเหมาะสมที่แต่ละองค์กรจะพิจารณาเลือก ขอ
ยกตัวอย่างดังนี้คือ ระบบ SAP, Oracle, QAD หรือในไมโครซอฟต์ก็มี Microsoft Business
Solutions และยังมีโปรแกรมสำเร็จรูปที่พัฒนาโดยคนไทยรวมทั้งของต่างประเทศ ในที่นี้
จะขอแนะนำเพื่อเป็นแนวทางดังนี้
ระบบ System Application Products
SAP (System Application Products) เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทางธุรกิจประเภท ERP
(Enterprise Resource Planning) ของประเทศเยอรมันที่ใช้ควบคุมดูแลทุกสายงานของธุรกิจ ครอบ
คลุมอุตสาหกรรมมากกว่า 25 ประเภท และใช้มากกว่า 120 ประเทศใน 38,000 หน่วยงาน ตัวระบบ
ประกอบด้วย หลาย Module ที่ทำงานร่วมกัน ผลิตภัณฑ์ SAP มี 2 กลุ่ม คือ SAP R/2 ใช้สำหรับ
เมนเฟรม SAP R/3 ใช้กับระบบ client/server และ SAP R/3 Enterprise ซึ่งเป็น Web Application
Server และ mySAP ERP
SAP R/3 เป็น Application Software ชนิด Client / Server ที่ทำงานในลักษณะ 3 Tier
Architecture ซึ่งแบ่งลำดับชั้นของเซอร์วิสใน Application เป็น 3 ระดับคือ Presentation Server จะ
ทำหน้าที่ให้บริการในส่วนของรูปแบบหน้าจอ Graphical User Interface หรือ GUI โดยเป็นเครื่อง
คอมพิวเตอร์สำหรับให้บริการ ส่วน Application Server จะทำหน้าที่ให้บริการในส่วนของการ
ทำงานทางด้าน Application Logic และในส่วน Database Server จะทำหน้าที่ให้บริการในการดูแล
ข้อมูลในระบบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บข้อมูล การสำรองข้อมูล และการฟื้นคืนสภาพของ
ข้อมูล (Data Recovery) ซึ่งจะทำงานร่วมกับ RDBMS ไม่ว่าจะเป็น ORACLE, Informix, DB2,
Microsoft SQL Server หรือ SAP DB (MaxDB)












รูป แสดงโมเดลมาตรฐานของแอพพลิเคชัน แบบ 3 Tiers
โมดูลแอพพลิเคชันในระบบ SAP R/3 ประกอบด้วย
FI : Financial Accounting หรือโมดูลทางด้านบัญชีการเงิน
CO : Controlling หรือโมดูลทางด้านบัญชีจัดการหรือบัญชีบริหาร
AM : Fixed Assets Management หรือโมดูลทางด้านการจัดการสินทรัพย์ถาวร
SD : Sale & Distributions หรือโมดูลทางด้านขายและการกระจายสินค้า
MM : Material Management หรือโมดูลทางด้านการจัดการวัตถุดิบ












รูป แสดงโมดูลของ SAP R/3
PP : Production Planning หรือโมดูลทางด้านการวางแผนการผลิต
QM : Quality Management หรือโมดูลทางด้านการจัดการด้านคุณภาพ
PM : Plant Maintenance หรือโมดูลทางด้านการซ่อมบำรุงโรงงาน
HR : Human Resource หรือโมดูลทางด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล
TR : Treasury หรือโมดูลทางด้านการบริหารการเงิน
WF : Workflow หรือโมดูลทางด้าน Flow ของกระบวนการทำงาน
IS : Industry Solutions คือส่วนระบบงานธุรกิจเฉพาะที่ไม่ใช่โมดูลมาตรฐานของระบบ SAP
R/3 ซึ่งจะมีทั้งระบบ Aerospace, Automotive, Banking, Chemicals, Consumer Products,
Engineering and Construction, Healthcare, Higher Education and Research, High Tech,
Insurance, Media, Mill Products, Oil and Gas, Pharmaceuticals, Public Sector, Retail,
Service Provider, Telecommunications, Transportation และ Utilities
นอกจากนี้ยังมี SAP Phone ที่สนับสนุนการเชื่อมต่อกับระบบ Computer Telephony
Integration Server ที่มีการเชื่อมต่อกับระบบ Private Branch Exchange (PBX) โดยสามารถที่จะใช้
งานในส่วนของ Telephony Control Function ได้เช่น Initiating and Transferring Call, Processing
Incoming Call Information และรวมถึงเรื่อง Interactive Voice Response (IVR)
จากข้างต้น SAP มีลักษณะเป็นโมดูล แต่ละโมดูลสามารถทำงานได้โดยตัวเอง และสามารถ
เลือกใช้เฉพาะบางโมดูลที่จำเป็นต่อการใช้งานได้ โดยไม่ต้องซื้อมาทั้งหมด ในอนาคตถ้าต้องการ
ใช้งานเพิ่มก็สามารถเพิ่มได้ภายหลัง ในขณะเดียวกันแต่ละโมดูลจะทำงานสอดคล้อง เชื่อมโยง และ
ประสานงานกันได้อย่างแนบแน่น ทำให้สามารถลดความซ้ำซ้อนของงานได้อย่างสมบูรณ์ ท่านที่
สนใจศึกษาที่ www.sap.com
ระบบ QAD
QAD เป็นแอพพลิเคชั่นในด้านการวางแผนการใช้ทรัพยากร ระดับองค์กรซึ่งเป็นนวัตกรรมของซอฟต์แวร์อุตสาหกรรม ERP อีกระบบหนึ่งในตลาด สามารถใช้งานร่วมกับอินเทอร์เน็ต ช่วยให้การบริหารทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับการผลิตทั้งภายในและภายนอกองค์กร ช่วย
ให้ผู้ผลิตอุตสาหกรรมสามารถทำงานอย่างใกล้ชิดกับลูกค้า ผู้ขาย และบริษัทคู่ค้า QAD มีลูกค้า
มากกว่า 5,500 ราย ใน 90 ประเทศและมีการพัฒนาไปใช้ใน 27 ภาษาทั่วโลก และได้พัฒนาระบบ
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารและการจัดการองค์กรสำหรับ Multi-National Companies
ขึ้นภายใต้ชื่อ Global Enterprise Edition (GXE) เป็นโซลูชั่นที่พัฒนาบน SOA (Service Oriented
Architecture) มีความพร้อมและความสามารถในการรองรับความต้องการขององค์กร โดยมีโมดูล
ซึ่งประกอบไปด้วย QAD Manufacturing, QAD Financials, QAD Supply Chain, QAD Customer
Management, QAD Analytic, QAD Open Technology ซึ่งระบบ QAD GXE นั้น

















รูป แสดงโครงสร้างระบบ QAD
สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับความต้องการของอุตสาหกรรมแต่ละประเภทได้อย่างง่ายดาย และ
สามารถส่งเสริมระบบอุตสาหกรรมการผลิตให้มีประสิทธิภาพ โดยจุดเด่นของเทคโนโลยีได้แก่
QAD Enterprise Portal Solution และได้พัฒนาเทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identification)
เพื่อการควบคุมสินค้าในสต็อกไม่ให้เกินความจำเป็น และลด Cycle Time รวมถึงการผลิตที่ทันเวลา
หรือ Just in Time และระบบยังสามารถสร้างบทเรียน e-Learning ได้
รูป แสดง QAD Financials





รูป แสดง QAD Supply Chain





เป็น ERP อีกระบบหนึ่งในค่ายของไมโครซอฟต์ยักษ์ใหญ่วงการไอที ที่จำเป็นต้องลง
สนามแข่งขันจะปล่อยให้ SAP และ Oracle เติบโตในสายนี้อย่างสบายได้อย่างไร ไมโครซอฟท์ส่ง
ซอฟต์แวร์สายพันธุ์ Navision Axapta (Microsoft Dynamics AX) Axapta เริ่มทำตลาดในเมืองไทย
เมื่อปี 2000 และ หลังจาก Microsoft ซื้อกิจการทำให้ Axapta เป็นที่รู้จักมากขึ้น ในส่วนของ Axapta, Navision, Great Plains, Solomon, หรือ Microsoft CRM ซึ่งอยู่ภายใต้ชุด ผลิตภัณฑ์
Microsoft Dynamics ที่จริงแล้ว Dynamics AX 4.0 ก็คือ Axapta ตัวต่อไปของ Microsoft ที่
Microsoft ตั้งชื่อใหม่ในการทำการตลาดว่า Dynamics AX (ชื่อเดิม Microsoft Business Solutions-
Axapta) Microsoft Dynamics AX เป็นระบบการวางแผนทรัพยากรสำหรับองค์กร หรือ ERP ที่
รองรับการใช้งานหลายภาษาและหลายสกุลเงิน ได้รับการออกแบบมาสำหรับบริษัทขนาดกลาง
และใหญ่
















รูป แสดงสถาปัตยกรรม Microsoft Dynamics
Microsoft Dynamics AX ประกอบด้วย ระบบการบริหารการเงิน, การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า, การบริหารทรัพยากรบุคคล, การบริหารโครงการ, การจัดการซัพพลายเชน อีกทั้งรองรับเทคโนโลยี RF ID (Radio Frequency ID) ซึ่งจะช่วยให้สามารถตรวจสอบสินค้าคงคลังได้อัตโนมัติลดความสูญเสียของวัสดุต่าง ๆ ลง และยังมีระบบที่สามารถวิเคราะห์สภาพธุรกิจ ซึ่งช่วยให้ผู้จัดการและพนักงานทราบถึงการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน สามารถเรียกดูรายงานพื้นฐาน หรือใช้ OLAP Cube (Online Analytical Processing ) เมื่อต้องการวิเคราะห์ระดับสูง มีเครื่องมือที่ทำงานเหมือนกับMicrosoft Office Outlook และ Excel จึงช่วยให้สามารถแสดงผลข้อมูลด้วยแผนภูมิ
การเจาะหาข้อมูลในรายละเอียดได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจถึงปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและปัญหาต่าง ๆ ภายในองค์กรซึ่งต้องการ การแก้ไขโดยเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องรอดูรายงานเนื่องจากเครื่องมือเหล่านี้ล้วนพัฒนาขึ้นบนฐานของ Microsoft Office ที่คุ้นเคยเป็นอย่างดีจึงสามารถสร้างรายงานและส่งให้ผู้ร่วมงานได้อย่างรวดเร็ว โดยทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์ที่รู้จักกันดี เช่น Microsoft SQL Server, BizTalk Server, Exchange, Office และ Windows นี่คือสิ่งที่ Microsoft วางไว้สำหรับ Microsoft Dynamics AX














รูป แสดงการใช้โปรแกรมในระบบ Microsoft Dynamics AX

สำหรับ ระบบ ERP ที่กล่าวมาข้างต้นยังมีระบบที่เราท่านรู้จักกันดีก็คือ Application
Products ของ Oracle ที่มีโมดูลให้เลือกใช้กับธุรกิจหลายรูปแบบเช่น Customer Relationship
Management, Financial Accounting, Human Resources, Supply Chain, Public Sector
Applications, Banking Applications, Retail Applications, Telecom Applications, Higher
Education Applications และ Other Industries ในส่วนของระบบ ERP ที่พัฒนาและจำหน่ายมีอีก
หลายแห่งไม่ว่า Crystal Software Group ที่พัฒนา FORMA ERP หรือ NP PointAsia และระบบ
ที่น่าสนใจอีกระบบก็คือ เป็นระบบที่ภาครัฐให้การสนับสนุน ในโครงการแผนปรับโครงสร้าง
อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ได้พัฒนาโปรแกรม
Software ERP (Enterprise Resource Planning)/ Quick Response for Textile & Garment Industry
ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ควบคุมองค์กร ที่ใช้สำหรับการจัดการและสร้างระบบการเชื่อมโยงระหว่าง
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งโครงการนี้ เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างมาตรฐานของ
อุตสาหกรรม ในการเก็บและให้ข้อมูลในการใช้งานเพื่อควบคุมองค์กร โดยระบบประกอบด้วย
โปรแกรม Sale & Marketing, Inventory, Purchase, Production, Production Planning, Point of Sale
and Bar coding + (Product Design , Product Development , Procurement & Auction) ซึ่งท่าน
สามารถขอตัวอย่างทดสอบ (DEMO) เพื่อเปรียบเทียบการใช้งานในองค์กรของท่าน และถ้า
สอดคล้องกับระบบงานของท่าน ท่านสามารถติดต่อกับหน่วยงานดังกล่าวได้
การนำพาองค์กรให้ก้าวนำอยู่ในสังคมเศรษฐกิจยุคดิจิตอล องค์กรจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง

(Change Management) และสร้างบรรยากาศให้บุคลากรในองค์กรยอมรับกระแสการเปลี่ยนแปลง
เพื่อจัดระเบียบและกติกาใหม่ของสังคมดิจิตอล ที่จะต้องเรียนรู้และสร้างความเข้าใจกับเทคโนโลยี
ในระดับหนึ่ง ในขณะที่วงการคอมพิวเตอร์ก็พยายามทำทุกอย่าง ให้การใช้เทคโนโลยีง่าย และเป็น
ธรรมชาติมากขึ้น ดังนั้นการพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี จึงมีความสำคัญ
เพื่อการก้าวร่วมกันและสร้างองค์กรให้มีความเข้มแข็ง และในองค์กรจะต้องมีเครื่องมือ (Tools) ที่มี
ประสิทธิภาพ และเครื่องมือที่สำคัญในการบริหารองค์กรระบบหนึ่งก็คือ ระบบการวางแผนและ
ควบคุมทรัพยากรในองค์กร (ERP) ซึ่งเป็นแหล่งสารสนเทศที่สำคัญในการวางแผนและตัดสินใจ
ระบบจะมีประสิทธิภาพนั่นก็หมายถึง ข้อมูลต้องทันสมัยและเป็นหนึ่งเดียวหรือ Single Database
โดยเชื่อมโยงเครือข่ายการสื่อสารถึงกันในแต่ละหน่วยงาน และเป็นมาตรฐานเดียวกัน ด้วยแหล่ง
ข้อมูลกลางเป็นหลัก อีกทั้งระบบจะต้องรองรับการเชื่อมโยงกับหน่วยงานพันธมิตรภายนอกที่
เกี่ยวข้อง เพราะสังคมวันนี้ ไม่มีระยะทาง ไม่มีเวลา และสถานที่ เป็นอุปสรรค์ การตัดสินใจจะยืน
อยู่กับสารสนเทศและหลังจอสี่เหลี่ยมบนเครือข่าย.

แหล่งอ้างอิง
http://www.sap.com
http://www.oracle.com
http://www.qad.com
http://erp.manufacturer-supplier.com
http://www.microsoft.com/thailand/dynamics/product/ax/
http://www.thaitextile.org/th/ERP/index.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

EPR